โกลเด้นสนิช หรือ สนิชสีทอง (Golden Snitch)

โกลเด้นสนิช หรือ ลูกสนิชสีทอง เป็นหนึ่งในลูกบอลสำหรับการแข่งขันควิดดิช เป็นลูกบอลที่จะตัดสินการจบเกมในการแข่งขันครั้งนั้นๆ การจับลูกสนิชได้ จะทำให้ทีมนั้นได้รับคะแนน 150 แต้ม และจบเกมการแข่งขันลงทันที

โกลเด้นสนิช หรือ สนิชสีทอง หนึ่งในวัตถุปริศนาที่ปรากฏในแฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค และมีบทบาทเด่นชัดใน แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งสนิชสีทองได้รับการคิดประดิษฐ์ขึ้นโดย โบว์แมน ไรต์ โดยในพินัยกรรมของอัลบัส ดัมเบิลดอร์ ดัมเบิลดอร์ได้มอบสนิชสีทองเป็นสมบัติตกทอดตามพินัยกรรมให้แก่แฮร์รี่ พอตเตอร์

ในการแข่งขันควิดดิชลูกโกลเด้นสนิชจะได้รับการลงคาถาเพื่อให้มันจดจำสัมผัสของพ่อมดหรือแม่มดคนแรกที่จับมัน เพื่อใช้ในการตัดสินผลสรุปที่แน่ชัดว่าใครเป็นผู้จบเกม

ประวัติศาสตร์ของโกลเด้นสนิช

ลูกโกลเด้นสนิช กำเนิดขึ้นจากความพยายามสงวนพันธุ์สัตว์วิเศษที่ชื่อ สนิดเจ็ต นกตัวกลมขนสีทอง จะงอยปากแคบและยาวแหลม มีความสามารถในการบินอย่างคล่องแคล่วว่องไว และหลบหลีกเก่งมาก จากความสามารถที่ดึงดูดใจนี่เอง ทำให้ได้รับความนิยมออกล่านับแต่ศตวรรษที่ 12 ปริมาณของนกสนิดเจ็ตลดน้อยลงเรื่อยๆ

กระทั่งปี 1269 นกสนิดเจ็ตถูกนำมาใช้ในการแข่งขันควิดดิช โดยประธานสภาพ่อมดบาร์เบรียส แบรกกี้ ซึ่งให้กติกาเพิ่มเติมในเกมครั้งนั้นว่า “ใครก็ตามที่สามารถจับสนิดเจ็ตได้ จะได้รับเงินรางวัล 150 เกลเลียน” ซึ่งในสมัยนั้นเงินจำนวน 150 เกลเลียนมีค่ามากกว่าล้านเกลเลียนในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์การแข่งขันควิดดิชก็เปลี่ยนไป แต่ละครั้งจะมีการปล่อยนกสนิดเจ็ตเข้ามาในสนาม ผู้เล่นตำแหน่ง ฮันเตอร์ ของแต่ละทีมจะมีหน้าที่ในการไล่จับนกอย่างเดียว เมื่อฆ่านกได้สำเร็จเกมจะยุติ พร้อมกับได้รับคะแนนเพิ่มพิเศษ 150 แต้มให้กับทีม ซึ่งเป็นที่มาของคะแนน 150 แต้มในปัจจุบัน

เมื่อปริมาณนกสนิดเจ็ตลดลงอย่างรวดเร็วเอลฟริดา แคลกก์ ประธานสภาพ่อมดในสมัยนั้นจึงได้ประกาศให้นกสนิดเจ็ตเป็นสัตว์คุ้มครอง และจัดหาสิ่งแทนที่นกสนิดเจ็ตอย่างเร่งด่วนสำหรับการแข่งขันควิดดิช

ในที่สุดนกสนิดเจ็ต ก็ได้รับการแทนที่ด้วยลูกสนิชสีทอง ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย โบว์แมน ไรต์ ช่างเป่าโลหะผู้ชำนาญการ เขาประดิษฐ์ลูกบอลที่ถอดแบบพฤติกรรมของนกสนิดเจ็ต ปีกเงินมีข้อต่อที่ทำให้มันหมุนได้รอบทิศทาง ทำให้มันเปลี่ยนทิศทางได้อย่างรวดเร็วดั่งสายฟ้า พร้อมลงคาถาไม่ให้บินออกนอกเขตสนาม ลูกบอลชนิดนี้มีขนาดเท่าผลวอลนัต มีน้ำหนักเท่านกสนิดเจ็ตพอดิบพอดี

ในปี ค.ศ. 1884 นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ เมื่อลูกสนิชสีทองบินหลบหนีการจับกุมของซีกเกอร์ทั้งสองฝ่ายได้นานถึง 5 เดือน ที่ทุ่งโบ๊ดมินมัวร์

ลูกสนิชสีทองของ แฮร์รี่ พอตเตอร์

แฮร์รี่ พอตเตอร์ ไม่เข้าใจเลยว่า ดัมเบิลดอร์ให้ลูกสนิชสีทองเขาด้วยเหตุใด แต่รูฟัส สคริมเจอร์ ก็ได้อธิบายให้เขาฟังว่า “โกลเด้นสนิช มีคุณสมบัติในการสัมผัสถึงผู้ที่จับมันได้ในครั้งแรก” แต่ด้วยความต้องการของรูฟัส รัฐมนตรีกระทรวงเวทมนตร์ เขาต้องการเห็นสิ่งที่คุณสมบัติของมันจะทำให้ เขาวางมันลงบนมือของแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่แล้ว มันก็ไม่เผยความลับใดๆออกมา

goldensnitch

แฮร์รี่พยายามที่จะไขปริศนาของสนิชสีทอง เขาหวนคิดถึงเวลาที่เขาจับโกลเด้นสนิชได้ครั้งแรก และมันก็ให้คำตอบออกมาว่า ครั้งนั้น เขาไม่ได้จับมันด้วยมือ แต่เขาเผลออมมันในการแข่งขันควิดดิช แฮร์รี่จึงลองจับเอาโกลเด้นสนิชใส่ปากของเขา และมันก็ยังคงนิ่งสนิท แต่ก่อนที่เขาจะเลิกความพยายาม เขาก็มองเห็นคำสลักที่โกลเด้นสนิช เขียนไว้ว่า “ฉันจะเปิดเมื่อปิด” ปริศนาจากคำใบ้นั้น ยิ่งทำให้เขาแย่มากยิ่งขึ้น

แต่ท้ายที่สุดเขาก็เปิดมันออกได้ในตอนที้กำลังเข้าไปหาโวลเดอมอร์ที่ป่าต้องห้าม ระหว่างทางเขาเปิดมันออกมาได้

การเปิดโกลเด้นสนิช

ฉันจะเปิด เมื่อปิด

ฉันจะเปิดเมื่อปิด

จากปริศนาถ้อยคำที่อัลบัส ดัมเบิลดอร์ได้ทิ้งไว้แฮร์รี่ พอตเตอร์ การจะเปิดมันออกนั้นนับว่ายากมากเลยทีเดียว เนื่องจากผู้ที่จะเปิดมันจะต้องยอมรับซึ่งการตาย นั่นคือ ปิดฉากชีวิตของตนเอง แฮร์รี่ ยอมรับความตายหลังจากนั้น เมื่อเขาสัมผัสจูบที่ลูกโกลเด้นสนิช มันก็เปิดออก

นี่คือข้อมูลจากอาจารย์สุมาลีครับผม

เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก ช่างคิดดีแท้ๆ คำปริศนาที่ดัมเบิลดอร์สลักไว้บนลูกสนิชทองคำ “ฉันเปิดเมื่อปิด” นั้น ป้าโจเขียนไว้กำกวมเป็นปริศนาเพื่อให้คนอ่านไม่รู้ทันที และดัมเบิลดอร์เองก็ไม่ต้องการบอกแฮร์รี่ตรงๆ ด้วย ในต้นฉบับเขียนว่า I open at the close. มีความหมายแปลได้ตรงๆ ว่า “ฉันจะเปิดเมื่อถึงจุดจบ” แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษเขียนไว้กำกวม ผู้แปลจึงต้องแปลให้กำกวมด้วยว่า “ฉันจะเปิดเมื่อปิด” หมายถึงปิดฉากชีวิตนั่นเอง ตรงดังที่มีคนช่วยตอบมาแล้ว คือเมื่อถึงจุดจบของชีวิตของแฮร์รี่

ดัมเบิลดอร์ตระหนักว่าเมื่อ แฮร์รี่รู้ว่าตนเป็นฮอร์ครักซ์ที่ไม่ได้ตั้งใจของโวลเดอมอร์ ในที่สุดเขาต้องตัดสินใจยอมสละชีวิตตนเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ดัมเบิลดอร์เข้าใจว่าเป็นการยากยิ่งนักสำหรับแฮร์รี่ที่จะเดินทางอย่างกล้า หาญไปเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ และยอมให้โวลเดอมอร์ฆ่าเขาโดยไม่ต่อสู้เลย นี่คือช่วงเวลาปิดฉากชีวิต ซึ่งแฮร์รี่จำเป็นต้องได้กำลังใจจากคนที่รักเขาและเขารักมากที่สุด ดังนั้นเมื่อแฮร์รี่ตัดสินยอมตาย เขาคิดถึงพ่อแม่ พ่อทูนหัว และครูที่เขารัก และเขาเกิดปัญญาเข้าใจปริศนาของดัมเบิลดอร์ในที่สุด เขาจึงจูบลูกสนิชทอง ซึ่งก็เปิดออกและมอบแหวนหรือหินชุบวิญญาณให้ทันที แฮร์รี่จึงสามารถเรียกวิญญาณของพ่อแม่ ซีเรียส และลูปินมาเดินเป็นเพื่อน ให้กำลังใจเขาได้ และข้อสำคัญวิญญาณของพวกเขาเหล่านั้นยังเป็นพลังดุจผู้พิทักษ์ที่ช่วยคุ้ม ครองเขา ต่อต้านผู้คุมวิญญาณที่ล้อมรอบบริเวณที่ตั้งมั่นของโวลเดอมอร์ด้วย ลำพังแฮร์รี่ซึ่งใจหดหู่ในเวลานั้นคงไม่อาจผ่านฝูงผู้คุมวิญญาณเหล่านั้นไป ได้อย่างปลอดภัย

โกลเด้นสนิช หรือสนิชสีทอง เป็นวัตถุเวทมนตร์ที่สามารถเก็บซ่อนของเล็กๆ ด้านในไว้ได้ ดัมเบิลดอร์รู้ข้อนี้ จึงได้นำเอาหินชุบวิญญาณ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องรางยมทูตบรรจุไว้ภายใน และรอเวลาที่แฮร์รี่เข้าใจความหมายของความตาย เขาจะเป็นนายของยมทูต