ปริศนานี้เป็นปริศนาที่ศาสตราจารย์เซเวอรัส สเนปเป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อการปกป้องศิลาอาถรรพ์ โดยจะต้องอาศัยหลักตรรกะในการหาคำตอบ เพราะหากพลาดนั่นหมายถึงความตาย
อันตรายอยู่ข้างหน้า
สองขวดเสริมกำลัง หนึ่งขวดช่วยเดินหน้า สองขวดเป็นไวน์ใส บอกใบ้ให้สี่ครั้ง ข้อหนึ่งขวดยาพิษ ข้อสองริมสุดแถว ถัดมาสองข้างไซร้ ข้อสามดูให้ดี ขวดจิ๋วบวดเบ้อเร่อ ข้อสี่ที่สองขวา แรกดูไม่คลับคล้าย |
ปลอดภัยมาอยู่ข้างหลัง
มีในคลังขวดเจ็ดใบ อีกขวดพากลับหลังไป สามขวดไซร้คือยาพิษ ตั้งใจฟังอย่าเลือกผิด ซ่อนสุดฤทธิ์ชิดซ้ายไวน์ สองขวดแก้วต่างกันไกล ก็ไม่ใช่เพื่อนของเธอ เจ็ดขวดมีขนาดไม่เสมอ ถือเป็นเกลอไม่ทำร้าย และขวดยาสองจากซ้าย แต่ชิมได้รสเหมือนกัน |
แกะปริศนาตำแหน่งขวดยาทั้งเจ็ด
1. หนึ่งขวดช่วยเดินหน้า – นั้นหมายความว่า น้ำยาหนึ่งในนี้ จะเป็นน้ำยาที่พาคุณไปสู่ห้องต่อไป เราแทนสัญลักษณ์ด้วยตัว F (Forward)
2. อีกขวดพากลับหลังไป – นั้นหมายความว่า น้ำยาอีกหนึ่งขวดจะพาคุณกลับไปห้องที่ผ่านมา เราแทนด้วยตัว B (Back)
3. สองขวดเป็นไวน์ใส – นั้นหมายความว่า อีกสองขวดในนี้เป็นไวน์ เราแทนด้วยตัว W (Wine)
4. สามขวดไซร้คือยาพิษ – นั้นหมายความว่า อีกสามขวดที่เหลือคือยาพิษนั้นเอง เราแทนด้วยตัว P (Poison)
5. ข้อหนึ่งขวดยาพิษ ซ่อนสุดฤทธิ์ชิดซ้ายไวน์ – จากคำใบ้นี้ ทำให้เราตีความได้ว่า
R1 – หมายความว่า ทุกๆขวดของไวน์ ทางซ้ายจะเป็นยาพิษเสมอ
C1 – ขวดที่ 1 ไม่สามารถเป็นไวน์ได้ เพราะทางซ้ายของไวน์ต้องเป็นยาพิษ แต่ขวดที่ 1 อยู่ซ้ายสุดจึงไม่ใช่
C2 – ยาพิษทั้งสามไม่สามารถเรียงชิดกันได้ เพราะว่าทางขวาของมันต้องมีไวน์อยู่ อย่างน้อยมันจะต้องมีไวน์แทรกขวดหนึ่ง
C3 – ยาพิษอีกสองขวด อาจจะอยู่ถัดไปสองขวดจากยาพิษก็ได้ แต่ยังไงก็ตาม ไวน์ต้องอยู่ทางขวาของยาพิษเสมอ ไม่สามารถอยู่ทางซ้ายได้
C4 – ถ้าขวด 1 ไม่ใช่ ยาพิษ ขวดที่ 2 ไม่ใช่ ไวน์อย่างแน่นอน
6. ข้อสองริมสุดแถว สองขวดแก้วต่างกันไกล ถัดมาสองข้างไซร้ ก็ไม่ใช่เพื่อนของเธอ จากคำใบ้นี้แปลว่า
R2 – สองขวดสุดท้ายบรรจุต่างกัน
R3 – ขวดที่ 1 ไม่ใช่ F
R4 – ขวดที่ 7 ไม่ใช่ F
7. ข้อสามดูให้ดี เจ็ดขวดมีขนาดไม่เสมอ ขวดจิ๋วบวดเบ้อเร่อ ถือเป็นเกลอไม่ทำร้าย แต่ถ้าไม่ใช่ขวดที่เล็กที่สุด ก็ขวดใบใหญ่ที่สุด ที่บรรจุ P แปลได้ว่า
R5 ขวดที่ใหญ่ที่สุดอาจจะไม่ใช่ยาพิษ
R6 ขวดที่เล็กที่สุดอาจจะไม่ใช่ยาพิษ
8. ข้อสี่ที่สองขวา และขวดยาสองจากซ้าย แรกดูไม่คลับคล้าย แต่ชิมได้รสเหมือนกัน แปลได้ว่า
R7 ขวดที่ 2 และ ขวดที่ 6 บรรจุของเหลวเหมือนกัน
C5 ขวดที่ 2 ไม่สามารถเป็น F ได้เพราะ F มีขวดเดียว
C6 ขวดที่ 6 ไม่สามารถเป็น F ได้เพราะ F มีขวดเดียว
C7 ขวดที่ 2 ไม่สามารถเป็น B ได้เพราะ B มีขวดเดียว
C8 ขวดที่ 6 ไม่สามารถเป็น B ได้เพราะ B มีขวดเดียว
เมื่อเรารวมคำใบ้ทุกข้อมารวมกันจะได้ดังนี้
ขวดที่ 1 จากข้อสันนิษฐานตรง C1 และ R3 เราจะรู้ว่า ขวดที่ 1 ถ้าไม่ใช่ P ก็คือ B . เรามาสมมติว่ามันคือ B . เมื่อดู ข้อ C4 , C5 , C7 ขวดที่ 2 ต้องเป็น P และจากข้อ R7 ขวดที่ 6 ก็ต้องเป็น P เช่นกัน. และเมื่อเรามาดูที่ข้อ C3 ขวดที่ 7 ก็ไม่สามารถเป็น P ดังนั้นถ้ามันไม่สามารถเป็น B (ซึ่งตอนนี้คือขวดที่ 1) , P หรือ F (ไม่สามารถเป็น F ได้ตามข้อ R4) มันก็ต้องเป็น W . ทั้งนี้ ขอสมมตินี้จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ ขวดแรกคือ B ซึ่งเราจะได้ตามนี้ B P 3 4 5 P W
มาดูต่อที่ ขวดที่ 3 . ถ้าขวดที่ 3 คือ W . R1 ก็แน่ใจได้ว่า ขวด 4 และ 5 ต้องเรียงตัว F P หรือไม่ก็ P F ซึ่งนั้นจะเรียงได้ว่า
S1. B P W F P P W
S2. B P W P F P W
แล้วถ้าเกิดเราลองกลับไปที่สมมติฐานว่า B P 3 4 5 P W . และ ขวดที่ 4 คือ W . ถ้าอย่างนั้น ขวดที่ 3 จะต้องเป็น P (ตามข้อ R1) และทิ้งให้ ขวดที่ 5 เป็น F . กลับกันขวดที่ 5 เป็น W . ขวดที่ 4 ก็จะเป็น P (ตามข้อ R1) ทิ้งให้ขวดที่ 3 เป็น F . ตามนี้ เขาจะสรุปข้อสันนิษฐานได้อีกว่า
S3. B P P W F P W
S4. B P F P W P W
ข้อสันนิษฐานที่ได้มานี้ จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ ขวดที่ 1 คือ B เท่านั้น เอาละ เรามาลองสมมติว่า ขวดที่ 1 เป็น P กันบ้าง (ตามข้อ C1 , R3) . ถ้าขวดที่ 1 เป็น B ขวดที่ 2 นั้นก็จะเป็น P หรือไม่ก็ W (C5,C7). มาเริ่มกันที่ ขวดที่ 2 คือ P ขวดที่ 6 ก็จะเป็น P เช่นกัน. ซึ่งทำให้ขวดที่ 3 และ 7 คือ W (ตามข้อ R1) จะได้ ข้อสันนิษฐานว่า
S5: P P W F B P W
S6: P P W B F P W
ณ ตอนนี้ ถ้าขวด 2 คิอ W ดังนั้น ขวดที่ 6 ก็ต้องเป็น W เช่นกัน . พร้อมบังคับให้ขวดที่ 5 เป็น P . และเช่นกันขวดที่ 7 ก็จะไม่สามารถเป็น W (เพราะว่า W มีแค่ 2 ขวด) , F (เพราะตามข้อ R4) หรือ P (เพราตามข้อ R2). ดังนั้น มันต้องเป็น B แน่นอน . และนี้คือ ข้อสมมติฐานข้อสุดท้าย ถ้าขวดที่ 1 คือ P
S7: P W P F P W B
S8: P W F P P W B
ซึ่งเราจะได้ ข้อสมมติฐานสุดท้าย 8 ข้อดังนี้
S1: B P W P F P W
S2: B P W F P P W
S3: B P P W F P W
S4: B P F P W P W
S5: P P W F B P W
S6: P P W B F P W
S7: P W P F P W B
S8: P W F P P W B
จากข้อ R5 และ R6 เราไม่สามารถหาได้ เพราะ เจ.เค. ไม่ได้บอกขนาดกับพวกเรา ต่อมา คราวหลังจึงมีข้อมูลว่า F คือขวดที่เล็กที่สุด ซึ่ง เฮอร์ไมโอนี่ซึ่งเป็นคนเดียวที่รู้ขนาดได้ บอกว่า ขวดที่ 7 คือ B ฉะนั้น สมมติฐานที่มี ขวดที่ 7 เป็น B จึงเหลือแค่ 2 อันคือ
S7: P W P F P W B
ขวด 1 – ยาพิษ
ขวด 2 – ไวน์ ขวดใหญ่ที่สุด ถ้าข้อ 6 ไม่ใช่
ขวด 3 – ยาพิษ หรือยาที่จะไปต่อภารกิจถัดไป ถ้าเป็นขวดที่เล็กที่สุด
ขวด 4 – ยาที่ไปต่อภารกิจถัดไป ถ้าเป็นขวดเล็กที่สุด หรือเป็นยาพิษ ถ้าไม่ใช่ขวดเล็กสุด
ขวด 5 – ยาพิษ
ขวด 6 – ไวน์ ขวดใหญ่ที่สุด ถ้าข้อ 2 ไม่ใช่
ขวด 7 – ยาถอยหลังกลับ
S8: P W F P P W B
ขวด 1 – ยาพิษ
ขวด 2 – ไวน์ ขวดใหญ่ที่สุด ถ้าข้อ 6 ไม่ใช่
ขวด 3 – ยาที่จะไปต่อภารกิจถัดไป เพราะเป็นขวดเล็กที่สุด
ขวด 4 – ยาพิษ เพราะไม่ใช่ขวดเล็กสุด
ขวด 5 – ยาพิษ
ขวด 6 – ไวน์ ขวดใหญ่ที่สุด ถ้าข้อ 2 ไม่ใช่
ขวด 7 – ยาถอยหลังกลับ
ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อไหน เพราะข้อมูลเชิงภาพไม่พอ
บทสรุปจากเว็บไซต์ Pottermore
หลังจากที่เว็บไซต์ Pottermore.com เปิดตัวแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ก็ทำให้เราได้เห็นภาพการจัดวางขวดยาทั้งหมด ซึ่งข้อสรุปที่ได้จาก Pottermore เป็นดังนี้
ขวด 1 – ยาพิษ
ขวด 2 – ไวน์ ขวดใหญ่ที่สุด ถ้าข้อ 6 ไม่ใช่
ขวด 3 – ยาที่จะไปต่อภารกิจถัดไป เพราะเป็นขวดเล็กที่สุด
ขวด 4 – ยาพิษ เพราะไม่ใช่ขวดเล็กสุด
ขวด 5 – ยาพิษ
ขวด 6 – ไวน์ ขวดใหญ่ที่สุด ถ้าข้อ 2 ไม่ใช่
ขวด 7 – ยาถอยหลังกลับ
ซึ่งก็คือสมมติฐานที่ S8: P W F P P W B นั่นเองครับ
[divider type=2 bg_color=”brown”]
เรียบเรียงโดย © 2004 by Prefect Marcus
แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย Vincent Bishop
ปรับปรุงและตรวจทานโดย A.Tree Riddle