20 กรกฎาคม 2007 – ป้ายห้ามรบกวนหายไป

21 กรกฎาคม 2007 เป็นวันที่หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต วางจำหน่ายพร้อมกันทั่วโลก และก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมงในวันที่ 20 กรกฎาคม 2007 เป็นวันที่เจ.เค.โรว์ลิ่งใช้ห้องต้องประสงค์ในเว็บไซต์เก่าของเธอเพื่อเขียนกิตติกรรมประกาศแก่บุคคลสำคัญๆ ที่มีต่อแฮร์รี่ พอตเตอร์ (อ้างอิง On JKR’s Desk) ซึ่งห้องต้องประสงค์นี้เปิดให้อ่านกิตติกรรมประกาศตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม จนถึง 31 ตุลาคม 2007 (อ้างอิง HP-Lexicon)


กิตติกรรมประกาศ

อีกไม่กี่ชั่วโมงคุณก็จะได้รู้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกับ แฮร์รี่ รอน และเฮอร์ไมโอนี่ ในการผจญภัยบทสุดท้ายของพวกเขา ความลับทั้งหลายที่ฉันแบกมันมานานแสนนานจะถูกเปิดเผยให้คุณได้รู้ คนที่เดาถูกก็จะได้ยกภูเขาออกจากอก ส่วนคนที่เดาผิด ฉันหวังว่าคุณคงไม่ผิดหวังมากไปนัก! สำหรับฉันเองตอนนี้รู้สึกผสมปนเปทั้งตื่นเต้น ประหม่า แล้วก็ผ่อนคลายในเวลาเดียวกัน และแม้จะอ่านทวนซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ตาม “เครื่องรางยมทูต” ก็ยังคงเป็นเล่มโปรดที่สุดในหนังสือชุดนี้ของฉัน ฉันรอไม่ไหวแล้วที่จะได้แบ่งปันมันให้กับเหล่านักอ่านที่ติดสอยห้อยตามฉันตลอดหกเล่มที่ผ่านมา

นี่คือสิ่งสุดท้ายที่ฉันต้องเขียน คือคำแสดงความขอบคุณ! นี่คือกลุ่มบุคคลที่ร่วมหัวจมท้ายมากับฉันในช่วงจังหวะเวลาต่าง ๆ ตลอดการเดินทางกับแฮร์รี่เป็นเวลาสิบเจ็ดปี คนเหล่านี้ (ที่ถ้าได้มาระดมสมองกันแล้ว) สามารถเล่าเรื่องอัศจรรย์พันลึกได้ยิ่งกว่าตัวนวนิยายเองมากมายนัก เรื่องราวเกี่ยวกับว่าโลกของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีความเป็นมาอย่างแปลกประหลาดและน่าอัศจรรย์เพียงใดเมื่อมันขยายตัวมากขึ้น ๆ เกินกว่าความฝันอันกว้างไกลที่สุดของเรา

อันดับแรก ฉันรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ คริสโตเฟอร์ ลิตเติ้ล (Christopher Little) ตัวแทนของฉันอย่างล้นเหลือ เขาคือคนที่อยู่กับฉันมาตั้งแต่เริ่มต้น ให้โอกาสนักเขียนที่ไม่มีใครรู้จักด้วยการบอกฉันว่าอย่ายอมแพ้ในสิ่งที่กำลังทำ และมุ่งมั่นอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อจะมั่นใจได้ว่าฉันจะไม่ต้องกลับไปเป็นครูสอนไวยากรณ์ภาษาฝรั่งเศสอีก ฉันปิติยินดีในวันที่สายตาของฉันเหลือบไปเห็นชื่อของเขาในวารสารนักเขียนและศิลปินประจำปี ขอบคุณพระเจ้าที่เขาไม่เหมือนลุงเวอร์นอน บุคลากรทุกคนที่สำนักงานของเขา (ซึ่งตอนนี้เติบโตรุ่งเรืองขึ้นมากมาย) ควรค่าแก่คำขอบคุณจากใจของฉัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอ็มม่า ชเลซินเจอร์ (Emma Schlesinger) ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นสารานุกรมเคลื่อนที่ผู้เก่งกาจหาใครเทียบของเว็บไซต์ Potterania รวมทั้ง นีล แบลร์ (Neil Blair) ผู้ซึ่งต่อสู้อย่างแข็งขันเพื่อแฮร์รี่ในนามของฉัน และหวังว่าเขาจะได้มีวันหยุดพักผ่อนจริง ๆ กับเขาเสียที

อนึ่ง ผู้มีบุญคุณต่อฉันอย่างล้นเหลือคือ แบร์รี่ คันนิงแฮม (Barry Cunningham) บรรณาธิการแผนกหนังสือเด็กของสำนักพิมพ์บลูมส์บิวรี (Bloombury) ผู้ซึ่งยอมให้มีการตีพิมพ์ศิลาอาถรรพ์ แม้เขาจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งที่นั่นนานพอที่จะได้เก็บเกี่ยวเสียงชื่นชมทั้งหลายซึ่งเป็นของเขาโดยแท้จริง ฉันถูกปฏิเสธอย่างเสียมิได้จากหลาย ๆ สำนักพิมพ์ก่อนหน้าแบร์รี่ที่เขามองเห็นสิ่งดีบางอย่างในแฮร์รี่ เขาเป็นบรรณาธิการที่ยิ่งใหญ่ และฉันไม่มีวันลืมความอดทนของเขาที่มีแก่นักเขียนที่ต้องจำยอมอย่างทุกข์ทรมานกับการเป็นทั้งครูและคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวในเวลานั้น

งานของแบร์รี่ได้รับการสานต่อโดย เอ็มม่า แมตทิวสัน (Emma Matthewson) ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนและบรรณาธิการหลักของฉันสำหรับแฮร์รี่อีกหกเล่มที่เหลือ ฉันกระสับกระส่ายรอคำตอบของเธออยู่ทุกครั้งเมื่อฉันส่งต้นฉบับ และฉันคงหลงเจิ่นไปไกลหากไม่ได้รับข้อวินิจฉัยที่สุภาพ ตรงไปตรงมา และแสนดีของเธอ การส่ง ‘เครื่องรางยมทูต’ เข้าสู่กองบรรณาธิการนั้น ถ้าจะกล่าวอย่างเจาะจง นับเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ครั้งใหญ่ของฉันมาก ๆ และฉันนึกไม่ออกเลยว่าจะมีใครอื่นอีกที่ฉันแบ่งปันประสบการณ์เหล่านั้นได้

ทุก ๆ คนที่แผนกหนังสือเด็กของบลูมส์บิวรีล้วนสร้างความอัศจรรย์ให้แก่ฉันและทำงานหนักมาก ๆ เพื่อแฮร์รี่ แต่ โรซามุนด์ เดอ ลา เฮย์ (Rosamund de la Hey) และ ซาราห์ โอเดนิน่า (Sarah Odenina) คือคนที่อยู่กับฉันมาตั้งแต่เริ่มแรกและเป็นเพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากมากนับแต่นั้น ไนเจล นิวตัน (Nigel Newton) กรรมการบริหารของบลูมส์บิวรี่คือแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่ของฉันมาตั้งแต่วินาทีแรก ก่อนที่แฮร์รี่จะมียอดขายเป็นจำนวนมหาศาลเพราะเด็ก ๆ หลงใหลหนังสือชุดนี้ เขาคือที่พึ่งซึ่งเปี่ยมด้วยความกระตือรือร้นและโอบอ้อมอารีอย่างแท้จริง

อีกวันหนึ่งซึ่งพลิกโฉมชีวิตฉันไปอย่างสิ้นเชิงคือวันที่ได้คุยกับ อาเธอร์ เลวีน (Arthur Levine) เป็นครั้งแรก เขาเป็นบรรณาธิการชาวอเมริกันผู้ซึ่งเสนอราคาให้กับหนังสือแฮร์รี่เล่มแรกสูงกว่าสำนักพิมพ์อื่น ๆ ทั้งสามแห่งที่เสนอราคามาก่อนหน้านั้น ฉันรู้สึกกลัวตอนที่รับโทรศัพท์เพื่อจะคุยกับเขา และประโยคแรกที่เขาพูดกับฉันคือ “คุณกลัวหรือเปล่าครับ?” ซึ่งฉันว่าฉันรักเขาตั้งแต่วินาทีนั้นเลย เขากลายเป็นเพื่อนแท้ที่สัตย์ซื่อ และความทรงจำเมื่อครั้งที่ได้เห็น ซาน ฟรานซิสโก ตอนที่อาเธอร์พาฉันไปเที่ยวอเมริกาครั้งแรกก็คือหนึ่งในความทรงจำที่แสนสุขที่สุดในประสบการณ์พอตเตอร์ของฉัน

อีกคนหนึ่งที่สำนักพิมพ์สกอลาสติก (Scholastic) ที่ฉันต้องแสดงความขอบคุณคือ คริส โมแรน (Kris Moran) ผู้เก่งฉกาจและน่ารักที่คอยดูแลเอาใจใส่ฉันตลอดการทัวร์อเมริกาทั้งสองครั้ง รวมทั้งการออกงานต่าง ๆ นานา เธอคือคนที่ฉันชื่นชมในความซื่อสัตย์ ทักษะในการหาร้านกาแฟในสภาพแวดล้อมที่ไม่ชวนให้เป็นหวัด รวมทั้งคำแนะนำที่เธอมักช่วยกระซิบให้จากมุมปากเวลาที่ต้องเซ็นหนังสือให้แฟน ๆ

ฉันอยากจะขอบคุณร้านขายหนังสือทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะในอังกฤษ เพราะพวกเขาคือคนสำคัญมากที่ทำให้แฮร์รี่ประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งไม่ได้เกิดจากการตลาดอันปราดเปรื่องเลย หากแต่การพูดถึงปากต่อปากโดยเหล่าผู้ทรงความรู้ที่ดูแลร้านหนังสือเหล่านั้น แฮร์รี่กลายเป็นงานหนักสำหรับร้านหนังสือในช่วงปีหลัง ๆ มานี้เพราะต้องมีการสั่งมาเตรียมไว้ในสต็อกจำนวนมาก รวมทั้งต้องเผชิญกับฝูงชนที่เฝ้ารอจนทำให้มันกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ไป ซึ่งทำให้การเข้าถึงอย่างลึกซึ้งเป็นไปได้น้อยลงกว่าที่เคยเป็น (แม้หลายคนจะพยายามพาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในช่วงเวลาจำหน่ายหนังสือตอนเที่ยงคืนก็ตาม) ฉันขอบคุณพวกเขาจากใจจริง

ปัจจุบัน แฮร์รี่ พอตเตอร์ ถูกแปลไปแล้วกว่า 64 ภาษา ฉันปลื้มใจกับความจริงที่ว่ามีคนมากมายเหลือเกินที่มีส่วนร่วมในการจัดจำหน่ายหนังสือไปทั่วทุกมุมโลกเช่นนี้ ในทุก ๆ ประเทศเรื่อยไปนับแต่ประเทศจีนถึงแคนาดา การได้รับหนังสือฉบับภาษาต่างประเทศทำให้ฉันขนลุกอยู่เสมอ ๆ และฉันรู้สึกขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วม มีบางคนที่ฉันเคยพบแล้ว และมีอีกมากที่ฉันยังไม่เคยได้เจอ ฉันอยากจะโบกมือทักทายและส่งคำขอบคุณจากหัวใจผ่านระบบออนไลน์ไปยังคริสติน (Christine), ยูโกะ (Yuko), อัลเลน (Allan), ครอบครัวเคลาส์ (Klauses), เปโดร (Pedro) และไซกริด (Sigrid) ถ้าจะให้เอ่ยชื่อทุกคนคงต้องเขียนมากกว่าสิบสองหน้าแน่ ๆ อภัยให้ฉันด้วยนะ …

ด็อตตี้ เออร์วิง (Dotti Irving), มาร์ก ฮัตชินสัน (Mark Hutchinson), รีเบกก้า ซอลต์ (Rebecca Salt) และนิกกี้ สโตนฮิลล์ (Nicky Stonehill) ที่สำนักงานเพื่อการประชาสัมพันธ์ โคลแมน เกตตี้ (Colman Getty PR) ช่วยให้ชีวิตฉันง่ายขึ้นมากเมื่อต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินส่วนแบ่งทางการตลาด (BCG) ปรากฏการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจของพอตเตอร์คงจะจางหายจากชีวิตของเราไปในอีกไม่นาน และเราคงจะคิดถึงมันเมื่อมันจากไป …

ที่ออฟฟิศในบ้านของฉันยังมีคริสติน (Christine) กับแอนเจล่า (Angela) ผู้ซึ่งจัดการกับบรรดาจดหมายแฮร์รี่ที่มาถึงฉันอย่างเชี่ยวชาญและเข้าอกเข้าใจตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้แน่ใจว่าฉันจะได้อ่านฉบับที่ฉันควรจะต้องได้อ่าน และทำให้ทุกอย่างสงบเรียบร้อยเมื่อต้องเจอกับภาวะชุลมุนจดหมาย ฉันดีใจที่ได้พบสองคนนี้ และดีใจที่ทุกวันนี้พวกเธอก็ยังคงอยู่ที่นั่น

เป็นเรื่องยากจริง ๆ ที่จะหาคำกล่าวใดมาเอ่ยถึงฟิดดี้ (Fiddy) ผู้ช่วยส่วนตัวของฉันผู้ซึ่งไม่เคยย่อท้อ เป็นคนสำคัญยิ่งยวด และขาดไปจากชีวิตไม่ได้ ผู้ซึ่งภาระหน้าที่ของเธอไปไกลเกินกว่าตอนที่ฉันทานอาหารกลางวันกับเธอครั้งแรก ที่ช่วงบ่ายวันนั้นยาวนานเหมือนหนึ่งสัปดาห์ เธอเป็นคนกลางอย่างระหว่างฉันและบรรดาเสียงเรียกร้องมากมายมาตลอดหลายปี ช่วยให้ฉันสามารถเขียนหนังสือไปด้วยแล้วก็เลี้ยงลูก ๆ ไปด้วยได้ ไม่มีวันไหนที่ฉันไม่รู้สึกขอบคุณพระเจ้าที่มีเธออยู่ข้าง ๆ

และสำหรับครอบครัวของฉัน ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได (Di) น้องสาวของฉันเป็นคนเดียวที่ได้รู้เห็นจริง ๆ ว่า ณ ใจกลางมรสุมชีวิตนั้นเป็นอย่างไร และมีอย่างน้อยหนึ่งครั้งที่เธอช่วยฉุดฉันลุกขึ้น ปัดฝุ่นผงออกจากตัวฉัน และทำให้ฉันกลับมาเป็นผู้เป็นคนอีกครั้ง เธอเข้าใจดีว่าผลตอบรับอันล้นเหลือที่ได้จากแฮร์รี่จะนำฉันไปสู่ช่วงเวลาหนึ่งที่แรงกดดันและความสนใจมากมายจะพุ่งเป้ามาที่ฉันจนท่วมท้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเธอก็คือคนที่เห็นฉันผ่านช่วงเวลาเหล่านั้น และช่วยให้ฉันได้มองเห็นมุมมองที่ต่างออกไป

ไม่มีนักเขียนคนไหนมีคู่ชีวิตที่ดีเท่ากับสามีของฉัน ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าโชคดีแค่ไหนที่ได้แต่งงานกับนีล (Neil) ฉันไม่คิดด้วยซ้ำว่านักเขียนจะมีความสุขแบบนี้ได้ การสนับสนุนของเขาช่วยให้ฉันเขียนเล่มหกและเจ็ดแต่ละเล่มได้อย่างเป็นสุขอย่างยิ่ง

สำหรับลูก ๆ ของฉัน เจ้าคนเล็กทั้งสองคนยังไม่เข้าใจจริงจังหรอกว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์ คืออะไร ฉันตั้งตารอที่จะแบ่งบันเรื่องราวในหนังสือให้พวกเขาฟังเมื่อเขาโตพอที่จะช่วยให้ฉันไม่เศร้าเกินไปเมื่อทุกอย่างจบลง

คนสุดท้ายจริง ๆ ที่ฉันอยากขอบคุณ คือคนที่สำคัญที่สุดเกินกว่าใคร ๆ คือคนที่ฉันเป็นหนี้บุญคุณอย่างล้นเหลือ ฉันเขียนร่างสุดท้ายของสามบทแรกของ ‘ศิลาอาถรรพ์’ ตอนที่ฉันตั้งครรภ์ลูกสาวคนโต เจสสิก้า (Jessica) เธอไม่เคยรู้เลยว่าชีวิตที่ปราศจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์ นั้นเป็นอย่างไร แม้กระทั่งก่อนที่หนังสือจะได้รับการตีพิมพ์ แฮร์รี่ก็เหมือนกับมีตัวตนอยู่ในบ้านของเราในขณะที่ฉันพิมพ์เนื้อหาต่าง ๆ อย่างเมามัน หรือเมื่อฉันตัดบทสนทนากับเจสสิก้าเพื่อจะจดโน้ตอะไรลวก ๆ ลงบนเศษกระดาษ เจสสิก้าไม่เคยบ่นที่ฉันให้ความสนใจกับพี่ชายของเธอในจินตนาการมากกว่าตัวเธอเอง เธอไม่เคยตำหนิที่ แฮร์รี่ พอตเตอร์ จะสร้างข้อเสียมากกว่าข้อดีให้กับชีวิตของเธอบ้างในบางครั้ง มันไม่ง่ายเลยกับการที่ต้องเป็นลูกสาวของ เจ.เค. โรว์ลิ่ง ถ้าฉันจะหยุดเขียนก่อนที่จะจบเล่มเจ็ดก็คงสร้างความผิดหวังอย่างใหญ่หลวงให้กับเจสสิก้าซึ่งนั่นคือสิ่งที่ฉันหวาดกลัวที่สุด การได้เห็น ‘เครื่องรางยมทูต’ วางอยู่ขอบเตียงของเจสสิก้าก่อนจะค่อย ๆ พลิกเปิดทีละหน้าและร่วงผล็อยไปมีความหมายต่อฉันมากกว่าสิ่งใด ๆ ในโลกใบนี้ มากกว่าการตีพิมพ์ด่วนจำนวนมาก มากกว่าการได้ส่งออกไปขายทั่วโลกเสียอีก ขอบคุณนะ เด็คก้า (แล้วก็จัดการทำความสะอาดห้องด้วยนะ มันรกจะแย่แล้ว, จากแม่เอง X)

Do Not Disturb sign removed - July 20, 2007

Acknowledgements

Within hours you will know what happens to Harry, Ron, Hermione and the rest in their final adventure.  All the secrets I have been carrying around for so long will be yours, too, and those who guessed correctly will be vindicated, and those who guessed wrongly will not, I hope, be too disappointed!  As for me, I feel a heady mixture of excitement, nerves and relief.  ‘Deathly Hallows’ remains my favourite of the series, even after several re-reads; I cannot wait to share it with the readers who have stuck with me through six previous books.

There is only one thing left to do: acknowledgements!  Here are the people who have joined me at various stages of the seventeen year journey I have taken with Harry, who (if you laid their brains end to end) could tell a story much stranger than fiction, of how weird and wonderful the world of Harry Potter became as it expanded way beyond all of our wildest dreams.

I am, firstly, deeply indebted to my agent, Christopher Little, who has been with me from the beginning and who took a chance on an unknown author whom he sweetly advised not to give up the day job, before working tirelessly to make sure that I never needed to teach French irregular verbs again.  I bless the day his name caught my eye in the Writers’ and Artists’ Year Book; thank God he wasn’t christened Vernon.  Everyone at his (now considerably expanded) agency deserves my deepest thanks, but in particular Emma Schlesinger, who has become an irreplaceable walking encyclopaedia of Potterania, and Neil Blair, who has fought so many battles on Harry’s and my behalf, and will, hopefully, get his weekends back now.

My eternal gratitude goes to Barry Cunningham, the editor at Bloomsbury Children’s books who accepted Philosopher’s Stone for publication, but who did not remain at the company long enough to garner all the plaudits that were rightfully his.  I had been turned down by a fairly long list of publishers before Barry discerned some merit in Harry; he is a great editor and I will never forget his patience with a writer who was simultaneously struggling to be a teacher and a single mother.

Barry was succeeded by Emma Matthewson, who has been my editor and friend for the subsequent six Harrys, whose arbitration I have awaited with bated breath every time I delivered a manuscript, and without whose calmness, honesty and sound judgement I would have been lost.  The editing of ‘Deathly Hallows’ was, in particular, hugely emotional for me, and I cannot think of anyone I would rather have shared it with.

Everyone at Bloomsbury Children’s Books has been fantastic to me and worked so hard for Harry, but Rosamund de la Hey and Sarah Odenina were with me from the start and have been staunch friends throughout.  Nigel Newton, Chief Executive of Bloomsbury, has been hugely supportive from the very beginning, long before Harry began to sell in vast numbers, because his children were fans of the books; he has been a constant source of enthusiasm and generosity.

A turning point in my life was the day I spoke to Arthur Levine for the first time.  He was the American editor who had just out-bid three other publishers for the first Harry book.   I felt terrified as I picked up the telephone to speak to him; the first thing he said was, ‘are you terrified?’  I think I loved him from that moment.  He, too, has become a real friend and confidant, and the memories I have of seeing San Francisco with Arthur on my first American tour are among my happiest of the whole Potter experience.

The other person at Scholastic whom I must thank is the preternaturally efficient and completely lovely Kris Moran, who has shepherded me through two American tours, and sundry other press events, and whom I adore for her loyalty, her ability to locate coffee in an apparently moisture-free environment and her corner-of-the-mouth-while-opening-books-for-signing quips.

I also want to thank booksellers everywhere, but particularly in the UK, because they were crucial to Harry’s initial success, which was built, not on clever marketing, but on word-of-mouth recommendations by the highly knowledgeable people who staff our bookshops.  Harry has become hard work for booksellers in later years, with embargoes and crowds making the whole business much more fraught, and much less intimate, than it used to be (though many still throw themselves into the spirit of midnight openings); I am deeply grateful.

Harry Potter is now published in 64 different languages.  I am constantly mindful of the fact that so many people are involved in the production of the books across the globe, from China to Canada and most places in between.  The arrival of foreign editions is always a real thrill, and I am so grateful to all the people involved, some of whom I have met, but most of whom I have not. I would like to send a little cyber-wave and my warmest thanks to Christine, Yuko, Allan, all the Klauses, Pedro and Sigrid.  To list everybody would take up twelve pages, so please forgive me…

Dotti Irving, Mark Hutchinson, Rebecca Salt and Nicky Stonehill at Colman Getty PR have made my life so much easier it makes me wince to remember how it was BCG.  Bizarre Potter press stories will fade out of our lives now, and we’ll probably miss them once they’re gone…

Here in my office at home are Christine and Angela, who have dealt expertly and sensitively with my Harry-mail for years, making sure I see the letters I ought to, bringing calm where once there was chaos.  I am so glad I found both of them, and that they are still hanging in there.

It is hard to know what to say about my indefatigable, invaluable, indispensable PA, Fiddy, whose job has swollen beyond recognition since I first had lunch with her and told her it would probably fill an afternoon a week.  She has stood valiantly between me and a tidal wave of demands for years now, enabling me to write books and look after my children, and barely a day goes by when I don’t thank God I have her.

And so to my family.  For a long time, my sister Di was the only one who really saw what it was like at the eye of the storm, and on at least one occasion she picked me up, dusted me down, and talked me back to sanity.  She understood that, for all the incredible benefits Harry brought me, there came a time when the pressure and the attention I had not sought became a little overwhelming, and she was the one who saw me through that period, and enabled me to find some perspective.

No writer ever had a better spouse than my husband.  I still cannot believe how lucky I am to have married Neil; I don’t think writers are supposed to be this happy.  His support has made the writing of the sixth and seventh books, in particular, a complete joy.

As for my children, my two youngest do not really know what Harry Potter is all about yet.  Looking forward to sharing the books with them when they are old enough keeps me from feeling too sad at having finished.

The very last person to be thanked is the most important person of all, the one to whom I owe the greatest debt of gratitude.  I wrote the final draft of the first three chapters of ‘Philosopher’s Stone’ while pregnant with my eldest daughter, Jessica.  She has never known what it is like to live without Harry Potter; even before he was published, he was a presence in our house as I typed away frantically in the evenings or broke off conversations with her to scribble on bits of paper.  Jessica has never once complained about the attention I devoted to her fictional brother, never reproached me for the fact that Harry Potter has sometimes been a bane rather than a boon in her life.  It has not always been easy to be J K Rowling’s daughter, yet if I had decided to stop before the seventh book it would have been Jessica’s disappointment that I would have feared the most.  The fact that ‘Deathly Hallows’ will sit beside Jessica’s bed until it becomes dog-eared and falls apart means more to me than anything else, more than the huge print run, more than all the publicity in the world.  So thank you, Decca.  (And tidy your room.  It’s disgusting. Mum X)