สายสัมพันธ์โรว์ลิ่ง: เมื่อเรื่องราวของเด็กหญิงจากโทรอนโต สร้างความประทับใจไว้ในหัวใจนักเขียน

โดย Brian Bethune จากนิตยสาร Maclean’s วันที่ 6 พฤศจิกายน 2000

หนึ่งเดียวในโลกนี้ที่สามารถเย้ายวนใจเด็ก ๆ กว่า 15,000 คนให้มาที่สนามเบสบอลเพื่อฟังใครบางคนอ่านหนังสือ ในที่สุดก็มาถึงแคนนาดาแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน นักเขียนชาวอังกฤษ โจแอนน์ แคธลีน โรว์ลิ่ง ผู้รังสรรค์หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง มาที่โทรอนโตและแวนคูเวอร์เพื่อพบปะแฟน ๆ และร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อช่วยระดมทุนให้วรรณกรรมเด็ก เพื่อตกเป็นพาดหัวข่าวเรื่องงานอ่านวรรณกรรมที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดขึ้น และโดยไม่บังเอิญ เพื่อการรื้อฟื้นมิตรภาพที่แสนมหัศจรรย์ซึ่งเริ่มต้นด้วยจดหมายที่เธอได้รับในเดือนกรกฎาคม ปี 1999

ขณะนั้น ความคลั่งไคล้ในแฮร์รี่เริ่มแพร่หลายแล้วในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ในเอดินบะระ โรว์ลิ่งเก็บตัวเงียบ ปฏิเสธทุกคำขอของสื่อและการรบกวนจากภายนอก ระหว่างที่เธอจดจ่ออยู่กับการเขียนเรื่องยืดยาวที่กลายมาเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนีซึ่งมีความยาว 636 หน้าในท้ายที่สุด และในโทรอนโต นาตาลี แม็กโดนัลด์วัย 9 ขวบกำลังจะตาย “เธอหลงใหลหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์มาก” เพื่อนของครอบครัวและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแอนนี่ คิดเดอร์เล่าย้อนความ “มันคือการหลีกหนีจากนรกของการเป็นลูคีเมีย และเพราะฉันเป็นคนประเภทที่คิดว่ามันต้องมีบางอย่างที่ฉันทำได้สิ ฉันเลยรบกวนไปที่สำนักพิมพ์ของโรว์ลิ่งในลอนดอน ส่งจดหมายหาพวกเขา และส่งอีเมล และแฟกซ์หาเธอ”

สำนักพิมพ์ส่งต่อไป จดหมายไปถึงบ้านของโรว์ลิ่งในเอดินบะระหลังจากที่นักเขียนคนนี้เพิ่งจะออกเดินทางไปพักร้อนที่สเปนเพียงวันเดียว “ตอนที่ฉันกลับมาในสองสัปดาห์หลังจากนั้นและได้อ่านมัน “ฉันมีลางสังหรณ์ไม่ดีเลยว่าฉันเห็นช้าไป” โรว์ลิ่งเล่าให้นิตยสารแม็กลีนส์ฟัง “ฉันพยายามโทรหาแอนนี่แต่เธอไม่รับ ฉันเลยอีเมลไปหาทั้งนาตาลีและวาเลอรี แม่ของเธอ เพราะแอนนี่ไม่ได้บอกวาเลอรีว่าเธอทำอะไรไป” สังหรณ์ของโรว์ลิ่งถูกต้อง อีเมลนั้นไปถึงหลังจากนาตาลีเสียชีวิตในวันที่ 3 สิงหาคม เพียงวันเดียว

“อีเมลของโจงดงามมาก” คิดเดอร์เล่า “เธอไม่ได้วางตัวเหนือนาตาลี หรือบอกเธอว่าทุกอย่างจะต้องโอเค เธอพูดกับเธอในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก เธอพูดถึงหนังสือของเธอและตัวละครของเธอ และตัวที่เธอชอบที่สุด” และที่น่าจดจำที่สุด โรว์ลิ่งแบ่งปันความลับของหนังสือเล่ม 4 อย่างเปิดเผย เป็นรายละเอียดที่สื่อและแฟน ๆ ต่างต้องโหยหาต่อไปอีก 11 เดือน

เรื่องราวอาจจบลงเพียงเท่านั้น แต่วาเลอรี แมกโดนัลด์เขียนจดหมายกลับไปเพื่อขอบคุณ “จดหมายทำฉันซึ้งมาก” โรว์ลิ่งพูดช้า ๆ พยายามจะอธิบายความนับถือที่เธอมีต่อแม่ของนาตาลี “ฉันรู้เลย เมื่ออ่านมัน ถ้าเราต่างไปรอรับลูกที่หน้าโรงเรียนสักสองเดือน เราคงเป็นเพื่อนกัน” การติดต่อกันโดยจดหมายจึงเริ่มขึ้น พร้อมกับมิตรภาพที่ไม่คาดฝัน “มันคือแสงสว่างเพียงหนึ่งเดียวในเรื่องแย่ ๆ ทั้งหมดนี้” คิดเดอร์กล่าว เธอได้มีส่วนร่วมเมื่อหน้าร้อนที่แล้วในตอนที่แมกโดนัลด์ สามีของเธอ บรูซ สแตรตตัน และลูกสาวอีกสองคนของพวกเขาเดินทางไปอังกฤษเพื่อเจอโรว์ลิ่ง แต่ก่อนหน้านั้น นักเขียนคนนี้ก็ได้ระลึกถึงนักอ่านที่เธอไม่เคยพบอย่างเงียบ ๆ

ที่หน้า 159 ของถ้วยอัคนี หมวกคัดสรรชื่อดังแห่งโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ส่งนักเรียนปีหนึ่งอย่างนาตาลี แมกโดนัลด์ ชื่อคนที่มีตัวตนอยู่จริงเพียงหนึ่งเดียวจากหนังสือทุกเล่มของโรว์ลิ่ง ไปบ้านกริฟฟินดอร์ บ้านเดียวกับแฮร์รี่ มันเป็นตอนที่เดินทางมาอังกฤษในหน้าร้อนที่แล้ว ขณะอ่านถ้วยอัคนีที่เพิ่งออกใหม่ให้ลูกสาวฟังระหว่างนั่งรถไฟใต้ดินลอนดอน ที่วาเลอรี แมกโดนัลด์รู้เรื่องการแสดงออกของโรว์ลิ่ง และในวันแรกของโรว์ลิ่งที่แคนาดา นักเขียนผู้นี้เล่าว่าเธอได้ใช้เวลาช่วงบ่ายที่มหัศจรรย์ที่น้ำตกไนแองการ่ากับครอบครัวแมกโดนัลด์และคิดเดอร์

การเยี่ยมเยือนแบบสาธารณะของโรว์ลิ่งก็เป็นไปได้สวยเหมือนกัน หากจะกล่าวโดยละเอียด ตอนที่มาถึงที่โทรอนโตในวันที่ 22 ตุลาคม นักเขียนคนนี้เล่าว่าเธอประหม่าที่จะต้องอ่านนิยายของเธอต่อหน้าเด็กหลายพันคน ใน SkyDome ของเมืองนี้ สองวันหลังจากนั้น ณ โพเดียมในสนาม โรว์ลิ่งก็ยังคงรู้สึกเหมือนเดิมอย่างเห็นได้ชัด เธอตอบสนองต่อเสียงเชียร์กึกก้องด้วยการบอกว่า “ฉันดีใจ— และตกใจ— ที่ได้มาอยู่ที่นี่” แต่ทันทีที่เธอเริ่มพูด เด็กกว่า 15,000 คนก็ตกอยู่ในความเงียบที่พวกเขาทำไม่ได้กับนักเขียนชื่อดังชาวแคนาดาอีกสองคนอย่าง เคน ออฟเพล และทิม วิน-โจนส์ ที่ขึ้นมาอ่านก่อนหน้าเธอ และเมื่อโรว์ลิ่งอ่านจบใน 14 นาทีหลังจากนั้น เด็ก ๆ ก็ระเบิดเสียงปรบมือที่ดังและเนิ่นนาน ผู้ปกครองที่ติดสอยห้อยตามมาอาจจะบ่นกับสิ่งที่ได้ยิน แต่เด็ก ๆ มีความสุขที่ได้อยู่ที่นั่น เอียน แมกแคนน์ วัย 9 ขวบต้องตัดสินใจอย่างยากลำบากที่จะพลาดการเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งวิบากของโทรอนโตเพื่อมาร่วมงานนี้ แต่เขาไม่บ่นเลย “มันจะเป็นความทรงจำติดตัวผมไปตลอดชีวิต เหมือนวันสำคัญในประวัติศาสตร์”

ยอดขายกว่า 40 ล้านเล่มทั่วโลกที่น่าเหลือเชื่อของโรว์ลิ่งทำให้ผู้บรรยายไม่สามารถอธิบายความสำเร็จของเธอได้ ความชื่นชอบในนิยายวรรณกรรมพอตเตอร์นั้นซึมซาบไปแทบจะทั่วทั้งโลก แต่เนื้อเรื่องที่ดีเพียงอย่างเดียวดูจะไม่เพียงพอต่อคำอธิบาย คำตอบที่จริงยิ่งกว่านั้นอาจจะอยู่ในการปฏิสัมพันธ์ของโรว์ลิ่งกับเด็ก ๆ ที่เราได้เห็นจากทัวร์ในตอนนี้ของเธอและจากท่าทีในจดหมายที่เธอส่งหานาตาลี แมกโดนัลด์

การมาเยี่ยมแคนาดาด้วยตารางแน่นเอียด 6 วันอาจจะมีรอยด่างพร้อยในโลกของผู้ใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (นอกเหนือจากเสียงหนวกหูที่ SkyDome แล้ว ยังมีการแนะนำตัวโรว์ลิ่งที่งานเลี้ยงอาหารกลางวันระดมทุน ที่รวบรัดเกินคาดจนนักพูดคนถัดไปต้องตะกายขึ้นเวที) แต่กับเด็กแล้ว โรว์ลิ่งเข้าหาพวกเขาได้โดยไม่ผิดพลาดเลย

ส่วนที่ดีที่สุดในทัวร์หนังสือของเธอคือ “การพบปะนักอ่านวัยเยาว์” เธอบอกนักข่าว “พวกเขาถามคำถามที่ดีที่สุดเลย ไม่ได้ดูถูกพวกคุณนะคะ แต่เด็ก ๆ พูดถึงตัวละครราวกับว่าเป็นเพื่อนของเราที่ฉันบังเอิญรู้จักดีกว่านิดหน่อย” และถึงแม้จะมีป้าย “ห้ามข้อลายเซ็น” ขนาดใหญ่ติดอยู่หน้างานเลี้ยงอาหารกลางวันระดมทุนที่งาน Osborne Collection of Early Children’s Books ของหอสมุดสาธารณะโทรอนโต แต่เด็ก ๆ ก็กรูกันเข้าไปขอได้สำเร็จ “โจที่น่าสงสาร” แจ็กกี้ เดวีส์ หนึ่งในเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของเธอถอนหายใจ “เธอไม่ได้กินข้าวเลย”

การเคารพในตัวเด็ก ๆ ซึ่งโรว์ลิ่งคิดว่า “โดนดูแคลนอย่างน่ารังเกียจ” โดยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ ก็ยังมีให้เห็นตลอดในวรรณกรรมพอตเตอร์ ความตายคือประเด็นหลัก ตัวร้ายต้องการจะมีชีวิตอยู่ไปตลอดไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไร และฮีโร่คือเด็กที่พ่อแม่โดนฆาตกรรม คนที่แม่ของเขาตายเพื่อรักษาชีวิตเขาไว้ ความตายและครอบครัวคือความสัมพันธ์ที่ตัดไม่ขาดสำหรับโรว์ลิ่ง “ฉันหลงใหลในครอบครัวใหญ่ ๆ ในเรื่องที่ฉันชอบ อาจเพราะว่าฉันมาจากครอบครัวเล็ก ๆ” เธอบอก “พ่อแม่ของฉันยังเด็กมากตอนเขาแต่งงานกัน แม่ฉันเพิ่งจะ 20 ในตอนที่เธอให้กำเนิดฉัน และ 23 ตอนเธอให้กำเนิดได น้องสาวฉัน เรามีปู่ย่าตายายสี่คน และลุงป้าน้าอาอีกมากมาย แต่แล้วพวกเขาก็เริ่มจะจากไปในเวลาอันสั้น รวมไปถึงแม่ของฉันที่จากไปเพราะโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) ในตอนที่ฉันอายุได้ 25 ปี ตอนนี้เลยมีแค่ฉัน น้องสาว เจสสิก้าลูกสาว พ่อของฉัน และป้าอีกหนึ่งคน”

อาจเป็นเพราะประวัติครอบครัวของเธอนั่นเองที่ทำให้เธอ “รับมือกับความตาย” ได้ แบบที่คนขายหนังสือในโทรอนโตอย่างเจสซี่ คาห์น เจ้าของร้าน the Constant Reader มองเห็นในหนังสือของเธอ “เธอรับมือกับความตายได้ละเอียดอ่อนมาก ฉันไม่ได้คิดถึงเรื่องนั้นเลยจนกระทั่งลูกค้าเริ่มกลับมาซื้อแฮร์รี่ พอตเตอร์อีกเล่มเพื่อเอาไปให้เพื่อนที่ต้องเจ็บปวดกับการสูญเสีย และคนพวกนั้นก็ใช้มันปลอบประโลมได้” โรว์ลิ่งตอบไปอย่างพอใจ “ถ้าเป็นแบบนั้น ฉันก็ดีใจแล้วค่ะ” เธอดูแปลกใจกับความเห็นของคาห์น แต่วาเลอรี แมกโดนัลด์อาจไม่ประหลาดใจเลย

Bethune, Brian. “The Rowling Connection: How a young Toronto girl’s story touched an author’s heart,” Maclean’s6 November 2000

The only person in the world who could have enticed 15,000 children to a baseball stadium to hear someone read from a book finally arrived in Canada last week. British writer Joanne Kathleen Rowling, creator of the hugely popular Harry Potter series, came to Toronto and Vancouver to meet her fans, to attend a fund-raising lunch for children’s literature, to headline the largest literary reading ever staged, and – – not incidentally — to renew an extraordinary friendship that began with a letter she received in July, 1999.

At the time, Harry-mania was already exploding in English-speaking countries. In Edinburgh, Rowling was hunkered down, refusing all media requests and most outside distractions, as she worked feverishly on the lengthy story that eventually became the 636-page Harry Potter and the Goblet of Fire. And in Toronto, nine-year-old Natalie McDonald was dying. “She was obsessed with the Harry Potter books,” remembers family friend and political activist Annie Kidder. “They had been her respite from the hell of leukemia. And because I’m the sort of person who thinks there must be something I can do, I badgered Rowling’s publishers in London, sending them a letter and an e-mail and a fax for her.”

Passed on by the publishers, the letter arrived at Rowling’s Edinburgh home a day after the author had left for a holiday in Spain. “When I came back two weeks later and read it, I had a bad feeling I was too late,” Rowling told Maclean’s. “I tried to phone Annie but she wasn’t in, so I e-mailed both Natalie and her mother, Valerie — because Annie hadn’t told Valerie what she had done.” Rowling was right in her foreboding — the e-mails were received the day after Natalie died on Aug. 3.

“Jo’s e-mail was beautiful,” Kidder says. “She didn’t patronize Natalie, or tell her everything was OK; she addressed her as a human being who was going through a hard time. She talked about her books and her characters and which ones she liked best.” And most remarkably of all, Rowling freely shared the secrets of her fourth novel, details media and fans desperately sought for another 11 months.

The story might have ended there, but Valerie McDonald wrote back, in thanks. “That letter touched deep,” Rowling says slowly, trying to explain the esteem in which she holds Natalie’s mother. “I just knew, reading it, that if we had been two mothers waiting for our kids at the school gate we’d have been friends.” So a regular correspondence began, and an unexpected friendship — “the one moment of light in this whole horrible thing,” says Kidder — was cemented last summer when McDonald, her husband, Bruce Stratton, and their two daughters travelled to Britain to meet Rowling. But even before that, the author had quietly commemorated the reader she never met. On page 159 of Goblet of Fire, the famous sorting hat of Hogwarts School of Witchcraft and Wizardry sends first-year student Natalie McDonald — the only real person named in any of Rowling’s novels — to Harry’s own Gryffindor house. It was during that English visit last summer, reading the just-released Goblet of Fire to her daughters while riding on the London tube, that Valerie McDonald learned of Rowling’s gesture. And on Rowling’s first day in Canada, says the writer, she spent a “wonderful” afternoon at Niagara Falls with the McDonald family and Kidder.

The public part of Rowling’s visit went very well, too, to put it mildly. When she arrived in Toronto on Oct. 22, the writer said she was nervous about reading from her novel before thousands of children in the city’s cavernous SkyDome. Two days later at the stadium podium, Rowling evidently still felt the same way, responding to a thunderous cheer with “I’m delighted — and terrified — to be here.” But as soon as she spoke, 15,000 children dropped into a rapt silence they hadn’t quite managed for the two popular Canadian authors — Ken Oppel and Tim Wynne-Jones — who read before her. And when Rowling finished 14 minutes later, the children erupted in loud and sustained applause. Accompanying adults might have grumbled about the acoustics, but the kids were happy to be there. Nine-year-old Iain McCann had to make a hard choice to miss taking part in Toronto’s cross-country running championships in order to attend, but he wasn’t complaining: “It’ll be a memory for the rest of my life, like a historical date.”

Rowling’s incredible sales — some 40 million copies worldwide — have left commentators struggling to explain her success. Praise for the absorbing Potter novels is near universal, but good stories alone do not seem explanation enough. A truer answer may lie in Rowling’s interaction with children as seen on her current tour and in the manner of her letter to Natalie McDonald. The writer’s jam-packed six-day visit to Canada had its share of inevitable, adult-world glitches. (Besides the SkyDome’s execrable sound quality there was Rowling’s address at the fund-raising lunch, so unexpectedly brief that the next speaker had to scramble to get up on stage.) But with children Rowling unfailingly connects.

The best part of her book tours is “meeting child readers,” she told reporters. “They ask the best questions — no offence to any of you. The children talk about the characters as though they’re mutual friends I happen to know a bit better.” And despite large “no autographs” signs at the fund-raising lunch for the Toronto Public Library’s Osborne Collection of Early Children’s Books, a steady stream of children successfully approached her throughout. “Poor Jo,” sighed Jackie Davis, one of her security staff, “she never gets to eat lunch.”

Respect for children, who Rowling thinks are “grossly underestimated” by most adults, is also apparent throughout the Potter novels. Death is a major theme. The villain wants to live forever, by whatever means it takes, and the hero is the child of murdered parents, whose mother died to preserve his life. Death and family are inextricably linked for Rowling. “I’m fascinated with big families in the stories I like, probably because I’m from such a small one,” she says. “My parents were so young when they married — my mother was only 20 when she had me, 23 for my sister, Di — that we had four living grandparents and lots of great aunts and uncles. But they soon began to die, including my mother from multiple sclerosis when I was 25, so now there’s only me, my sister, my daughter, Jessica, my father and one aunt.”

Perhaps it’s Rowling’s family history that has given her the “handle on dying” that Toronto bookseller Jessy Kahn, owner of The Constant Reader, sees in her books. “She deals with death very sensitively. I didn’t think of it until customers began to return for additional Harry Potter copies to give to friends who had suffered a loss. And those people found them comforting.” A pleased Rowling responds: “If that’s the case, then I’m very gratified.” She sounded surprised by Kahn’s remarks. Valerie McDonald probably wouldn’t be.


ที่มา: http://www.accio-quote.org/articles/2000/1100-macleans-bethune.html และ https://archive.macleans.ca/article/2000/11/6/the-rowling-connection