เจ.เค.โรว์ลิ่ง พูดถึงละครเวทีเด็กต้องคำสาปรอบแสดงที่บรอดเวย์ หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และงานใหม่ ๆ

เจ.เค.โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) แจ็ค ทอร์น (Jack Thorne) และจอห์น ทิฟฟานี (John Tiffany) ทีมผู้เขียนหลักเบื้องหลังการผลิตละครเวทีแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาปรอบแสดงที่ลอนดอนและรอบแสดงที่จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ที่บรอดเวย์ มานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในรายการ CBS Sunday Morning ของมาร์ค ฟิลลิปส์ (Mark Phillips) ที่โรงละคร Palace Theatre ในลอนดอนเมื่อไม่นานมานี้ ในประเด็นการนำละครเวทีไปจัดแสดงที่นิวยอร์กซิตี้ การทำให้ซีรีส์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์กลับมาอีกครั้ง และประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งได้รับการถอดคลิปสัมภาษณ์และเผยแพร่ 24 กันยายน 2017 (อ่านบทสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษได้ที่นี่ คลิก)

บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่คาดว่าน่าจะยาวราว 1 ชั่วโมง สามารถอ่านกันได้ด้านล่าง นอกจากนี้โรว์ลิ่งยังได้พูดลงรายละเอียดว่าความสำเร็จของแฮร์รี่ พอตเตอร์ส่งผลกับชีวิตของเธออย่างไร โดยย้อนไปตั้งแต่ปี 1999 ในช่วงที่หนังสือ 3 เล่มแรกออกมาวางขาย การทำตัวให้เคยชินกับชื่อเสียงที่มีมาก และเรื่องอื่น ๆ

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันต้องเป็นเหมือนอีกชีวิตหนึ่งเลยใช่ไหมครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: มันก็ทั้งใช่และไม่ใช่นะคะ ตอนที่ฉันนึกถึงพวกเราอยู่บนรถไฟ มันดูเหมือนเพิ่ง 6 เดือนที่แล้วเอง แต่พอฉันดึงตัวเองกลับมาสักหน่อย แล้วคิดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่นั้น อย่างเรื่องชีวิตส่วนตัวของฉันก็ด้วย ตอนนั้นเองฉันก็ตะหนักได้ว่า ไม่นี่ ฉันให้กำเนิดเด็กมาเพิ่มอีก 2 นี่นาในช่วงเวลานั้น

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วหนังสืออีก 4 เล่มต่อมาล่ะครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: นั่นสินะคะ 4 5 6 7 8 เล่ม ร่วมมือในส่วนของบทละครเวทีเล่มนึง แล้วก็เขียนบทภาพยนตร์อีกสอง ใช่เลย ก็ถ้าคุณมองไปที่มัน แล้วคุณก็คิด มันก็จะแบบว่า นั่นไม่ใช่แค่ 6 เดือนแน่ ๆ ล่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ผมล่ะอยากถามคำถามอะไรที่ไม่เข้าท่าสักหน่อยนะ คือมันเป็นเรื่องมุมมองของการที่จะได้เงินหลายล้านปอนด์จากการให้แฮร์รี่ พอตเตอร์มาจัดแสดงบนเวทีหรือเปล่าที่มันดึงดูดคุณสุด ๆ น่ะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ไมเคิล แจ็คสันเคยอยากให้ฉันไปที่เนเวอร์แลนด์แล้วคุยเรื่องละครเพลงแฮร์รี่ พอตเตอร์นะ แต่ฉันเองไม่อยากให้เป็นงั้นค่ะ ไม่ล่ะ ตอนนั้นฉันไม่คิดอยากให้แฮร์รี่อยู่บนเวทีเลย ฉันไม่อยากได้ละครเพลงหรอกนะ ฉันรู้สึกตอนนั้นว่าฉันพอแล้ว

มาร์ค ฟิลลิปส์: กับแฮร์รี่น่ะเหรอครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันคิดว่าฉันรู้สึกอย่างนั้นค่ะ คือถ้าฉันรู้สึกมีแรงบันดาลใจอะไรขึ้นมาจริง ฉันก็จะกลับไปโลกนั้นอีก ฉันเองก็ไม่ถึงขั้นพูดฟันธงว่าฉันจะไม่ทำแล้วนะ เพราะว่าฉันรู้ว่าทางวอร์เนอร์บราเดอร์สต้องการทำอะไรสักอย่างกับ ‘สัตว์มหัศจรรย์ (Fantastic Beasts)’ และฉันเองก็อยากทำด้วยล่ะค่ะ

แต่คุณก็น่าจะรู้ใช่ไหมว่าฉันน่ะก็ไม่ได้จะรีบร้อนอะไร และความจริงก็เป็นอย่างนั้น จนกระทั่งโซเนีย ฟรีดแมน (Sonia Friedman) โปรดิวเซอร์ละครเวทีมาหาฉัน และคุยกับฉันถึงความเป็นไปได้ที่จะทำอะไรสักอย่างบนเวที แล้วฉันก็เริ่มคิดว่า ‘โอเค สิ่งที่คุณกำลังเสนอมามันเป็นอะไรที่ฉันสามารถรู้สึกตื่นเต้นกับความสร้างสรรค์นี่ได้’ ถ้างั้นถ้าจะตอบคำถามของคุณได้ตามตรงอย่างเท่าเทียมเลยก็คือ พวกเราทุกคนต่างก็รู้ว่าฉันไม่ได้ต้องการเงิน ชีวิตน่ะมันสั้น ฉันแค่อยากทำอะไรที่ฉันรู้สึกสนุกไปกับมัน หรือที่ฉันคิดว่ามันดีคุ้มค่าที่จะทำมัน

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่นอกเหนือจากไมเคิล แจ็คสันแล้ว โดยเฉพาะประเด็นที่เอาแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปแสดงบนเวที นี่มันเป็นเรื่องที่พวกเราต่างก็รู้กันว่าเกิดออกมาจากความคิดของคุณแล้วก็ดังเป็นพลุแตก จนกลายมาเป็นบรรดาพวกหนังสือ แล้วก็อะไรนั่นอีกไม่ใช่เหรอ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ก็ไม่นะคะ พวกผู้คนก็จะไหลไปตามมันบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ ฉันเองก็เคยพูดไว้ด้วยว่ามันก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องยืดหยุ่นที่จะอ้างได้ว่าเนื้อเรื่องในชุดหนังสือทั้ง 7 เล่มนั่นก็ถูกสร้างมาจากความคิดของฉันเต็ม ๆ กับแนวความคิดเรื่องเด็กผู้ชายที่ไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นพ่อมดแล้วก็ได้ไปโรงเรียนเวทมนตร์ ซึ่งมันโผล่เข้ามาในความคิดของฉันทั้งหมด ซึ่งจะว่าไปก็ใช่ค่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วคุณก็เขียนบทสุดท้ายก่อนบทอื่นๆ ด้วย

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่ค่ะ ฉันเขียนบทนั่นตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ใช่เลยล่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่ความคาดหวังอะไรเหรอครับที่ทางโรงละครหยิบยื่นให้คุณ มันแค่ความท้าทายที่จะทำให้ไอเดียพวกนั้นเป็นจริงขึ้นมาแทนที่จะเป็นแค่จินตนาการ หรือจากการช่วยด้วยสเปเชียลเอฟเฟกต์ของภาพยนตร์ที่คุณเห็นว่าน่าดึงดูดแค่นั้นน่ะเหรอ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ถ้าว่ากันตามตรง มันคือการที่ได้ทำงานร่วมกับผู้คนเหล่านี้ค่ะ เพราะโซเนียและโคลิน คัลแลนเดอร์ โปรดิวเซอร์ของพวกเราเสนอโอกาสให้ฉันได้ทำงานกับทั้งสอง (หมายถึงกับแจ็ค ทอร์นกับจอห์น ทิฟฟานี) ซึ่งฉันคิดว่ามันเหลือเชื่อมากเลยค่ะ และฉันก็รู้สึกมั่นใจตั้งแต่การพบกันครั้งแรกของพวกเราว่า พวกเราจะสามารถทำอะไรที่มันพิเศษสุดให้เกิดขึ้นได้

พอมาตอนนี้ ฉันอาจจะผิดอยู่หน่อยก็ได้ค่ะ คือพวกเรายังมีความสนุกในการทำมันอีกเยอะเลย แล้วพวกเราก็กลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันมาก ๆ ก็นั่นล่ะค่ะคือสิ่งที่น่าเหลือเชื่อที่ได้เพื่อนดี ๆ มาถึงสองคนจากขั้นตอนที่สร้างสรรค์อย่างนี้ แล้วพวกเราสามคนก็ทำงานร่วมกันได้ดีมาก ๆ ด้วย และฉันก็คิดว่าพวกเราได้สร้างสิ่งที่พวกเราภูมิใจมาก ๆ ออกมาแล้วด้วยค่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันใช่ไอเดียเรื่องการเล่าเรื่องในภายหน้ารึเปล่า ผมรู้ว่ามันออกจะเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงที่จะคุยกันเรื่องโครงเรื่องนะ เพราะงั้นเราจะไม่พูดถึงมันละกัน แต่ไอเดียเรื่องการเล่าเรื่องในภายหน้าเอย เรื่องของพวกรุ่นต่อไปเอย มันเป็นอะไรที่ดึงดูดใจคุณใช่ไหม มันเป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายที่คุณรู้สึกว่าเข้าท่าเลยใช่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อ ฉันก็เคยพูดมาก่อนนะคะว่าตัวละครที่ฉันสนใจที่สุดว่าจะเป็นยังไงต่อไปก็คืออัลบัส พอตเตอร์ เขาเป็นตัวละครที่ฉันคิดถึงมากที่สุด ลูกชายที่คุณก็เห็นได้จากบทส่งท้ายของเรื่องว่าจะไปเรียนที่ฮอกวอตส์พร้อมความรู้สึกถึงภาระที่ต้องแบกรับจากประวัติตระกูลของเขา และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของพวกเรา

พวกเราต้องการที่จะปกป้องงานศิลปะการแสดงไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่พวกเราจะทำได้ เพราะพวกเราต้องการให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่ผู้คนมากมายในลอนดอนสามารถมีได้ ดังนั้นพวกเราเลยไม่อยากแบ่งปันให้มันดูมากเกินไป

มาร์ค ฟิลลิปส์: ครับ พวกเราทุกคนก็ขอสาบานว่าจะเก็บความลับให้ดีเลย ผมรู้ดีว่าพวกเราที่นั่งอยู่ที่นี่จะโดนบทลงโทษเป็นการคว่ำบาตรแน่ ๆ ถ้าเผลอพูดเรื่องโครงเรื่อง แต่คุณพอจะบอกอะไรพวกเราได้บ้างล่ะครับ  มันใช่เรื่องต่อเนื่องจากตอนจบของหนังสือเล่มสุดท้ายใช่ไหม

แจ็ค ทอร์น: ผมขอไม่ตอบละกัน (หัวเราะ)

จอห์น ทิฟฟานี: ฉากแรกของบทละครของพวกเราก็คือบทสุดท้ายของ ‘เครื่องรางยมทูต’ นั่นแหละครับ เพราะฉะนั้นพวกเราก็จะได้เห็นแฮร์รี่ จินนี่ แล้วก็อัลบัส ซึ่งเป็นลูกชายคนกลางของแฮร์รี่ อยู่ที่สถานีคิงส์ครอส เช่นเดียวกับรอนและเฮอร์ไมโอนี่พร้อมลูกสาวของพวกเขาซึ่งก็คือโรส และก็ในบทสุดท้ายด้วยเช่นกัน ที่ครอบครัวมัลฟอยก็มาปรากฏตัวด้วยสักที่จริงไหม แล้วพวกเขาก็กำลังส่งอัลบัสกับโรสไปฮอกวอตส์ในวันแรกของพวกเขา

เจมส์ที่เป็นพี่ชายคนโต ลูกคนแรกของแฮร์รี่กับจินนี่ นั้นก็เข้าเรียนที่ฮอกวอตส์มาก่อนหน้าแล้ว แต่พวกเราจะได้เห็นอัลบัส ซึ่งเป็นตัวละครที่โจได้พูดไว้ก่อนหน้าแล้วว่าเธอสนใจที่สุด เพราะชื่อของเขาคืออัลบัส เซเวอรัส ชื่อซึ่งมีที่มามาจากอัลบัส ดัมเบิลดอร์ และเซเวอรัส สเนป สองตัวละครที่เป็นที่รักมากจากหนังสือ

แจ็ค ทอร์น: และก็เป็นตัวละครที่ซับซ้อนสุด ๆ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: และเป็นตัวที่ถูกเกลียดสุด ๆ ด้วยเหมือนกัน

จอห์น ทิฟฟานี: ในขณะที่เจมส์ ซึ่งได้ชื่อตัวเองมาจากปู่ ออกจะมีวิถีชีวิตสบาย ๆ เรื่อยเปื่อยตลอดเวลาของเขาที่ฮอกวอตส์ ส่วนอัลบัสนั้นไม่ได้มีช่วงเวลาที่ง่ายเสียเท่าไหร่นัก ดังนั้นมันก็จะเป็นเรื่องอะไรประมาณนั้นในช่วงฉากแรก จนกระทั่งเรากระโดดข้ามไปถึง 4 ปี แล้วก็จะเจอพวกเขาอีกทีตอนเริ่มชั้นปี 4 และนั่นก็เป็นจุดที่เรื่องจะเริ่มต้นจริง ๆ เป็นรูปเป็นร่าง และสิ่งต่างๆก็ซับซ้อนมากและเร็วมาก

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณก็รู้ พวกคาถาน่าเกิดขึ้นได้ทั้งในภาพยนตร์แล้วก็หนังสือ แต่การทำให้พวกคาถาเกิดขึ้นบนเวทีนี่ต่างออกไปทั้งหมดเลยนะ

จอห์น ทิฟฟานี: ใช่ครับ ผมหมายถึงว่า โซเนียกับโคลินมาหาผมแล้วก็บอกว่าพวกเขาไปเจอโจมา แล้วโจก็ตกลงยอมรับไอเดียที่จะนำแฮร์รี่มาแสดงบนเวทีและดูชีวิตแฮร์รี่ในวัยผู้ใหญ่กัน โดยเฉพาะการดูว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับคนที่มีวัยเด็กแบบที่แฮร์รี่มี จนเขากลายเป็นผู้ปกครอง เป็นพ่อคน

ผมหมายถึงว่า ผมรักพวกหนังสือและก็พวกภาพยนตร์ แล้วก็เป็นแฟนตัวยงของโจด้วย ผมอ่านพวกมันให้พวกลูกทูนหัวกับพวกหลานชายของผมฟังด้วยนะ แล้วก็เห็นถึงพลังที่ไร้ขอบเขตที่พวกมันส่งผ่านไปถึงเด็ก ๆ และให้พวกเขารับรู้ถึงสัมผัสแห่งความสุขกับการพบที่ ๆ เป็นของตัวเองในหลาย ๆ ทาง และผมเองก็เริ่มชีวิตการทำงานของผมในเมืองเอดินบะระที่ที่โจอยู่ในตอนนั้นด้วย

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: และพวกเราก็พบกัน

มาร์ค ฟิลลิปส์: พวกคุณรู้จักกันที่นั่นเหรอ

จอห์น ทิฟฟานี: ตอนนั้นผมเป็นผู้ช่วยผู้กำกับที่โรงละครทราเวิร์สครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เป็นที่ที่มีคาเฟ่เยี่ยมยอดที่ฉันเคยไปนั่งเขียนงานด้วยค่ะ แล้วเขาก็อยู่ที่นั่น และตอนที่พวกเราเจอกันแบบออกจะทางการเพื่อมาทำงานโปรเจกต์นี้และค้นหากันว่าพวกเราจะทำโปรเจกต์นี้ยังไงกัน ฉันก็คิดมาว่าเขาช่างดูคุ้นจัง แล้วก็มันก็กลายเป็นว่าพวกเราเคยพบกันมาก่อนนานหลายปีแล้วที่เอดินบะระ ตั้งแต่ก่อนการตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกเลยค่ะ (แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ หรือ Harry Potter and the Philosopher’s Stone ฉบับภาษาอังกฤษ ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1997 โดยสำนักพิมพ์ Bloomsbury)

จอห์น ทิฟฟานี: ใช่เลยครับ โจอยู่ที่นั่นกับรถเข็นเด็กแล้วก็ดื่มคาปูชิโน่ไปเรื่อย

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณไม่รู้เลยสินะในตอนนั้นว่าเธอจะกลายมาเป็นเจ.เค.ในตอนนี้

จอห์น ทิฟฟานี: ไม่เลย จนกระทั่งอีกหนึ่งปีต่อมา

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ไม่ค่ะ เขาดีกับฉันมากจริง ๆ ปล่อยให้ฉันนั่งอยู่นั่นเป็นชาติกับกาแฟไป

จอห์น ทิฟฟานี: ใช่เลย คุณพูดตลอดนี่ว่า ‘คุณจะรังเกียจไหมถ้าฉันจะอยู่นี่’ แล้วผมก็แบบ ‘อ่อ ไม่เลย’ แล้วคุณก็เขียนงานไป จากนั้นปีนึงต่อมา ‘ศิลาอาถรรพ์’ ก็ออกมา แล้วหลังจากนั้นเธอก็ไม่ได้มาที่คาเฟ่อีกบ่อยนัก คุณไม่ได้ไปไหนมากนักหลังจากนั้นใช่ไหมล่ะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: อืม ตอนนั้นฉันก็ยังอยู่ตามคาเฟ่ทั้งหลายนะจนกว่าฉันจะถูกไล่แบบกลาย ๆ น่ะ

จอห์น ทิฟฟานี: เพราะงั้นพอโซเนียกับโคลินมาหาผม ผมก็คิดว่า ‘ว้าว นี่มันเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างยากเลยนะ แต่มันจะเป็นที่รักแน่ล่ะ’ อีกอย่าง โลกนั้นดูสวยน่าค้นหามากตอนเป็นภาพยนตร์เมื่อปรากฏแก่สายตา แต่ในเวลาเดียวกัน มันก็มีประเด็นเล็กน้อยอยู่ในหัวของผม และผมก็ตื่นเต้นเอาเสียมาก ๆ กับมุมมองที่ว่าพวกเราจะสามารถใช้รูปแบบละครเวทีในการเล่าเรื่องได้ยังไง

ผมหวังว่าพวกเรื่องของเสื้อคลุม กระเป๋าสัมภาระ และความว่องไวในการใช้มือล้วนแล้วแต่มีความเป็นไปได้ที่จะลงตัวได้ดีงามบนเวที แล้วผมก็รู้ว่าถ้าพวกเราจะก้าวต่อไปกับสิ่งนี้ ผู้ชมละครเวทีกลุ่มใหญ่จะเป็นคนที่เพิ่งมาดูละครเป็นครั้งแรก และนี่จะเป็นโอกาสที่จะแสดงให้พวกเขาเห็นว่าละครนั้นเป็นยังไง

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่เรื่องบางส่วนของความคาดหวังในอนาคตก็ออกจะน่ากลัวอยู่นะ ผมคิดว่ามันจะเป็นอย่างนั้น เพราะเด็กพวกนี้จะดูภาพยนตร์มาก่อน ซึ่งความว่องไวในการใช้มือกับการใช้คาถาและการบินรวมถึงทุกสิ่งอย่างที่เหลือก็ถูกแสดงออกมาอย่างชัดเจน

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันมีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมเลยค่ะว่าจอห์นจะสามารถทำมันออกมาได้น่าทึ่งแน่ ฉันคิดว่าในจุด ๆ นี้ในชีวิตของฉัน ฉันไม่เห็นว่าการที่จะทำอะไรบางอย่างที่ไม่น่าหวาดกลัวเลยแม้สักนิดจะมีอะไรน่าสนใจ คุณก็รู้จริงไหม มันง่ายมาก ๆ เลยกับแค่การทำเรื่องเดิม ๆ แล้วผู้คนก็ชอบมัน หรือไม่ก็แค่ทำเรื่องซ้ำซากไปจนกว่าพวกเขาจะหยุดชอบมันไปเอง แล้วฉันเองก็แค่สนใจทำอะไรก็ตามที่ที่ฉันพบว่ามันน่าพอใจ น่าตื่นเต้น หรือน่าท้าทายก็เท่านั้น มาตรฐานของฉันก็เลยจะสูงมากตลอดเวลา

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณทำให้มาตรฐานของคุณสูงขึ้นเอง นั่นคือสิ่งที่คุณกำลังจะพูดใช่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อ มันก็มีความเสี่ยงในเรื่องนั้นอยู่ค่ะ แต่ว่านะ คุณจะไม่มีความพอใจในความสร้างสรรค์ได้หรอก ถ้าคุณไม่ยอมเสี่ยงเสียบ้าง แน่นอนว่ามันจะต้องมีพวกคนที่ไม่ชอบสิ่งที่พวกเรากำลังทำและก็รู้สึกแย่ อย่างเวลาคุณมีฐานแฟนคลับอย่างแฟนแฮร์รี่ พวกเขาจะมีความรู้สึกรักแรง มันเป็นสิ่งที่สวยงามนะคะ

แต่พอมันมีความคาดหวังที่สูงมากเข้ามา ในบางครั้งผู้คนก็จะไม่ชอบในสิ่งที่คุณจะทำ ฉันบอกไม่ได้หรอกว่าฉันรักสิ่งที่ทำอยู่นี่ขนาดไหน ฉันรักมันตั้งแต่เริ่มจนจบ และฉันก็รู้สึกภูมิใจจริงๆกับสิ่งที่จอห์นเพิ่งพูดไปเกี่ยวกับการนำเอาคนที่ดูละครเวทีครั้งแรกมาเข้าถึงละครผ่านทางเรื่องพอตเตอร์ พวกเรารู้ว่า 60% ของผู้ชมของพวกเราไม่เคยได้ดูละครเวทีมาก่อน แล้วพวกเราก็รู้อีกด้วยว่าสัก 15% จะไปต่อจากนั้นคือจองตั๋วละครเวทีเรื่องอื่นต่อ และเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ในแง่เจาะจงไปที่กลุ่มคนหนุ่มสาว “นี่ไม่ใช่มุมมองพื้นที่ของพวกประหลาด” พวกเราทั้งสามคนนั้นได้รับการศึกษาในระบบรัฐ พวกเราไม่ได้มาจากครอบครัวที่ชอบไปดูละครโดยธรรมชาติ แต่พวกเรามีความรู้สึกรักแรง และนี่เป็นทางที่จะทำให้รับรู้ถึงพื้นที่ของพวกคนมีระดับและการละคร อย่างเช่น คุณแต่งตัวยังไง คุณประพฤติตัวยังไง การแสดงละครสดมันค่อนข้างน่ากลัวอยู่หน่อย แต่มันก็เปิดกว้างให้กับทุกคน พวกเราเข้าถึงมันได้มากด้วยลักษณะพื้นฐานทางสังคมที่มีร่วมกันใช่ไหมล่ะ

จอห์น ทิฟฟานี: ใช่เลย มากจริง ๆ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วที่นั่งในละครเวทีนี้ล่ะ 1,200 คนหรืออะไรประมาณนั้น เมื่อเทียบกับสื่ออย่างหนังสือหรือภาพยนตร์ นี่ออกจะให้พื้นที่น้อยแล้วก็เป็นกลุ่มเป้าหมายเล็ก จำนวนนั้นปรับเปลี่ยนจากไอเดียมาเป็นละครเวทีแล้วใช่ไหม

จอห์น ทิฟฟานี: เอ่อ คุณก็รู้ การละครก็เป็นอย่างนี้ล่ะครับ เมื่อพูดถึงละครเวที มันก็จะมีผู้คนกลุ่มหนึ่งนั่งลงและดูเรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านเหล่านักแสดง พวกเรารู้ดีว่ามีความต้องการตั๋วมากเหลือเกินและนั่นก็เพราะเหล่าแฟนพอตเตอร์ แต่พวกเราก็รู้อีกด้วยว่ามันจะประสบความสำเร็จ พวกเราจึงเสาะหาอย่างรวดเร็วที่จะพาการแสดงไปที่ประเทศอื่น ๆ ด้วย อย่างตอนนี้ที่เรากำลังพูดถึงการนำมันไปที่บรอดเวย์ ซึ่งพวกเราตื่นเต้นกันมากจริงไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: แน่ล่ะ พวกเราตื่นเต้น

จอห์น ทิฟฟานี: ตามที่เราก้าวหน้ากันไปกับไอเดียสำหรับเรื่อง พวกเราทั้งสามคนพบกันและเริ่มพูดคุยเรื่องของ “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเด็กต้องคำสาป” จะบอกอะไร มันออกจะชัดเจนสำหรับผมว่าพวกเรากำลังจะทำอะไรที่ค่อนข้างมีความเฉพาะตัว ในแง่ที่พวกเราเอากลุ่มตัวละครที่ผู้ชมเคยพบเจอในหนังสือทั้ง 7 เล่มกับภาพยนตร์ทั้ง 8 เรื่องมา แล้วเล่าเรื่องใหม่ที่มีตัวละครเหล่านั้นร่วมแสดง มันเป็นเรื่องที่เป็นเกียรติมากว่าไหม การที่ไปนั่งกับผู้ชมจากการแสดงในรอบแรก ๆ  ได้เห็นผู้คนเข้ามา รู้จักตัวละครเหล่านี้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวละครบ้าง แล้วก็เกิดหายใจหอบ นั่นเป็นเหตุผลจริง ๆ ว่าทำไมผมถึงเข้าร่วมในการละครแล้วกลายมาเป็นผู้กำกับละครเวที คุณอยากให้ผู้ชมที่มารวมตัวกันดูเรื่องราวแล้วหายใจหอบเพราะตกใจแล้วก็กระซิบกระซาบกัน นั่นล่ะสิ่งที่น่ายินดี

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ไม่ใช่นะ น่าอัศจรรย์ใจมากกว่า

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณกลัวบ้างไหมว่าพวกเขาจะไม่ชอบมัน

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: แน่นอนค่ะ ฉันไม่คิดว่าจะมีคนมีหัวคิดสร้างสรรค์คนไหนที่มีชีวิตอยู่นี้จะไม่เข้าใจว่าพวกเราทั้งหมดรู้สึกอย่างไรตอนเข้าร่วมการแสดงพรีวิวรอบแรก ฉันคิดว่าพวกเราทั้งสามคน เห็นด้วยไหม พวกเรารู้สึกว่าพวกเราทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว และก็ภูมิใจกับมัน พวกเราคิดว่าพวกเราทำงานที่ดีออกมา คุณก็รู้ พวกเราทั้งสามคนเลย

แล้วก็เรื่องเกี่ยวกับการละคร เพราะมันเป็นประสบการณ์จากสัญชาตญาณภายใน ฉันนั่งอยู่บนชั้นบ็อกซ์ในรอบพรีวิวช่วงแรก ๆ แล้วบรรยากาศมันก็…

แจ็ค ทอร์น: น่าขบขัน

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ไม่ใช่อย่างนั้นนะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ความหนักหน่วงของความคาดหวัง ผมคิดว่างั้นนะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ค่ะ ใช่เลย มันเป็นความหนักหน่วงของความคาดหวัง คุณรู้ดีว่าผู้คนเข้ามาดูพร้อมกับความคิดล่วงหน้าเยอะแยะมาก คุณก็รู้แบบตรงไปตรงมาน่ะ บางคนมากับมุมมองที่ว่า “บางทีพวกเขาแค่หมุนปรับเรื่องไปมา บางทีพวกเขาอาจแค่พยายามใช้ความพิเศษเล็กน้อยจากแฟรนไชส์นี้” แต่พวกเรารู้ว่ามันเป็นสิ่งใหม่และแตกต่าง และหลักฐานก็คือตอนที่ผู้ชมได้ดูมัน

ถ้าว่ากันตามจริง ฉันคิดว่าพวกเรารู้สึกแบบเดียวกันเกี่ยวกับการไปบรอดเวย์ พวกเราไม่ได้จะออกไปบรอดเวย์ด้วยความรู้สึกว่า “โอ้ นี่จะเป็นเรื่องง่าย ๆ แล้ว” พวกเราจะไปบรอดเวย์ด้วยความคิดที่ว่า “โอเค มาดูกันว่าจะเป็นยังไง” คุณยังไม่รู้หรอก มันไม่มีความแน่นอน ไม่มีอะไรที่คุณจะทึกทักเอาได้ว่าจะเป็นดั่งหวัง มันคือบรอดเวย์นะ คุณก็รู้จริงไหม ฉันคิดว่าพวกเรามีความรู้สึกกลัวอยู่บ้าง

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันมีช่วงไหนบ้างไหมที่คุณรู้สึกว่าผู้ชมของคุณ พวกสาธารณชนต่อต้านสิ่งที่คุณทำ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: โอ๊ย พระเจ้า ตามนั้น

มาร์ค ฟิลลิปส์: มีเหรอ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: แหม นี่มันยุคสื่อสังคมออนไลน์นี่คะ คุณคิดหรือว่าฉันจะไม่ถูกบอกว่าฉันทำในสิ่งที่พวกเขาไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวละคร หรือว่าทำไมฉันถึงได้เอาเรื่องแฮร์รี่ไปทำเป็นละครเวที ในยุคสื่อสังคมออนไลน์แบบนี้ คนคนหนึ่งจะไม่ตบตากับความจริงที่ว่าพวกเขาไม่มีความสุขหรือคาดว่าจะไม่มีความสุข มันก็เป็นอย่างนั้นแหละค่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วคุณแคร์สิ่งที่สาธารณชนพูดไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันต้องแคร์ไหม คุณรู้ไหม ฉันจะซื่อสัตย์ในเรื่องนี้นะ คำตอบก็คือ ใช่ฉันแคร์ และ ไม่ ฉันไม่แคร์

ในส่วนที่ว่าใช่ ฉันแคร์ เพราะสำหรับฉันแล้ว ฉันจะย้อนกลับไปหาเหล่านักอ่านเสมอ ดังนั้นความจริงที่ว่าผู้คนรักหนังสือ และก็ภาพยนตร์ด้วย มันทำให้เห็นว่าเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้นมีความหมายมากขนาดไหนกับผู้คนมากมาย และมันก็เป็นทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับฉัน ไม่มีนักเขียนคนไหนหรอกที่จะบอกคุณต่างออกไป ฉันได้ความรักที่ยอดเยี่ยมและความนับถือจากผู้คนเหล่านั้น และถ้าลืมเรื่องด้านวัตถุไปซะ พวกเขาให้ฉันรับรู้ถึงความรู้สึกของการเป็นเจ้าของและมีตัวตนในที่ของฉันเอง จริง ๆ นะ มันเป็นสิ่งที่ฉันไม่แน่ใจว่าฉันเคยมีมาก่อนไหมเพราะมันกลายเป็นว่าฉันเล่าเรื่องได้ และนั่นคือสิ่งทั้งหมดที่ฉันต้องการทำในชีวิตของฉัน แล้วพวกเขาที่มีความกระตือรือร้นก็ให้สิ่งที่ว่านั้นกับฉัน ดังนั้นฉันเลยแคร์มากจริง ๆ

ในส่วนที่ว่า “ไม่ ฉันไม่แคร์” ฉันคิดในฐานะนักเขียนหรือคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คุณจำเป็นที่จะต้องยึดมั่นกับทัศนะความคิดของคุณจริง ๆ และในท้ายที่สุดคุณก็จะสามารถมองไปที่กระจกแล้วพูดว่า “ฉันทำมันไปด้วยเหตุผลที่ถูกต้องแล้วใช่ไหม ฉันทำมันสุดความสามารถแล้วใช่ไหม ฉันมีความสุขกับผลลัพธ์ใช่ไหม”

มาร์ค ฟิลลิปส์: เพราะคุณกลัวว่าคุณอาจจะชักนำให้เสียคนได้น่ะเหรอ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อ ฉันรู้ดีว่าฉันจะไม่เป็นงั้นค่ะ ฉันรู้ดีว่าฉันมีเวลาที่เหลืออยู่บนโลกนี้จำกัด ฉันไม่สนใจอะไรก็ตามที่ทำแล้วฉันรู้ได้ว่าจะเป็นที่ชื่นชอบมากในกลุ่มแฟน ฉันคิดว่าพวกแฟน ๆ ที่ดูนี่จะเข้าใจดีว่าฉันหมายถึงอะไรจริง ๆ เพราะพวกเขาจะรู้ได้เลยว่ามันเป็นสิ่งที่พวกเขาพยายามพร่ำขอฉันไว้ แต่มันก็ไม่ได้มีอะไรสำหรับฉันนัก แม้ฉันจะรู้ว่าพวกเขาจะซื้อมันก็เถอะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ผมขอถามหน่อย อะไรคือ…

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันจะไม่ตอบนะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: …สิ่งที่พวกเขาขอคุณ บอกหน่อยน่า

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันจะไม่ตอบ ฉันจะไม่ตอบ ไม่ล่ะ ฉันจะไม่พูดถึงสิ่งนั้น เพราะฟีดทวิตเตอร์ของฉันจะกลายเป็นที่นรกแตกไปสามเดือนเลยถ้าฉันหลุดพูดมันออกมา เพราะงั้นฉันจะไม่พูดนะ แต่มันมีอะไรที่แน่นอนที่ฉันรู้ว่าฉันเขียนลงไปได้ และแค่นั้น พวกเราก็จะขายได้เป็นล้าน มันต้องทำให้ฉันตื่นเต้นหรือไม่ตื่นเต้น เพราะอย่างนั้น ฉันต้องแคร์เหรอ ใช่ ถ้ามองในแง่ความรู้สึกอันแรงกล้า หรือไม่ เพราะในท้ายที่สุดฉันก็จะทำในสิ่งที่หล่อเลี้ยงฉัน

มาร์ค ฟิลลิปส์: โครงสร้างการเขียนเรื่องพอตเตอร์สำหรับละครมันแตกต่างจากหนังสือหรือบทภาพยนตร์มากไหมครับ

แจ็ค ทอร์น: ต่างครับ แล้วจากคำถามก่อนหน้าของคุณ ผมเองก็เป็นแฟนหนังสือ ก็ออกจะเป็นแฟนหนังสือที่น่าขันน่ะครับ ผมก็มองตัวเองเป็นพอตเตอร์เฮดคนหนึ่งอยู่นะ และเกี่ยวกับคำถามนั่นที่คุณไม่ยอมตอบที่ว่าพวกแฟน ๆ ต้องการ…

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: อย่าพูดนะ อย่าพูด

แจ็ค ทอร์น: คุณก็รู้น่ะ ส่วนหนึ่งในตัวผมอยากจะพูดว่า ‘เถอะน่า ได้โปรด’

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ขอทีน่ะ อย่าเลย

แจ็ค ทอร์น: และนั่นทำให้มันดูน่ากลัวเข้าไปอีกตามทัศนคติของผมน่ะ เพราะถ้าคุณเป็นคนที่ถูกมองว่าเป็นคนทำลายแฮร์รี่ พอตเตอร์ ความเกลียดตัวเองก็จะมาอย่างท่วมท้นเลย แต่เรื่องโครงสร้างการเขียนเรื่องพอตเตอร์สำหรับละครเวที ผมทำงานร่วมกับจอห์นมาหลายครั้งแล้ว และรูปแบบการทำงานของพวกเราก็จะเป็นแบบเขียนมันแล้วพวกเราจะพยายามทำมันมาตลอด

ดังนั้นผมจึงไม่ได้เขียนในแบบที่ว่า “โอเค ผมถูกบังคับจากรูปแบบเวที” แต่ผมเขียนในแบบ “ผมไม่ถูกบังคับ เพราะจอห์น ทิฟฟานี และสตีเว่น ฮอกเกตต์ [ผู้กำกับฝ่ายการเคลื่อนที่] กำลังรออยู่ที่สุดปลายทางของการเดินทางนี้ และถ้าผมเขียนเวทมนตร์ลงไปในบทได้ พวกเขาก็จะพยายามหาทางทำให้มันเป็นไปได้” ผมคิดว่าคุณมีแค่กฎเดียวนะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: กฎอะไรเหรอครับ

จอห์น ทิฟฟานี: เกมที่ปรากฏในโลกของแฮร์รี่ พอตเตอร์น่ะครับ แบบว่า “ฉันจะไม่ทำอย่างนั้น”

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: “ฉันจะไม่ทำอย่างนั้น” ฉันโอเคนะที่คุณไม่ทำอย่างนั้น

มาร์ค ฟิลลิปส์: ไม่แกล้งกันน่ะได้ไหม

จอห์น ทิฟฟานี: เอาน่า คุณเบาใจไปมากเลยนะ ผมจำได้

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันเบาใจจริง ๆ นั่นล่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ผมเบาใจหน่อย ๆ ละว่ามันไม่เกิดขึ้น

แจ็ค ทอร์น: แต่นอกเหนือจากนั้นคือมันไร้ข้อจำกัด ก็แค่ทำมันไป และจริง ๆ แล้วมันก็เป็นทางที่ต่างกันเลยนะจากเขียนพวกบทละครเวทีกับเขียนพวกบทภาพยนตร์ในแง่ความยาวของพวกฉากแล้วก็อะไรอื่นอีกที่ออกจะน่าเบื่ออย่างนั้น แต่ผมคิดว่าพวกเราน่ะมุ่งมั่นกันจริงจังตั้งแต่จุดเริ่มต้นว่าจะไม่ถูกจำกัดด้วยความจริงที่ว่านี่เป็นพื้นที่ของพวกเรา

และโครงสร้างบทของจอห์นมันก็แบบ “พวกภาพยนตร์มีสเปเชียลเอฟเฟกต์ทั้งหลาย พวกเรามีจินตนาการที่เป็นชิ้นเป็นอันจากผู้ชมของพวกเรา ดังนั้นถ้าพวกเราสามารถสร้างอะไรสักอย่างที่จะพาพวกเขาเดินทางไปกับการเดินทางนี้ได้ พวกเขาก็จะไปกับพวกเรา” และนั่นเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุด คุณก็รู้นะ ผมย้อนกลับไปดูละครเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อน ไปนั่งในฐานะผู้ชม แล้วซึมซับกับประสบการณ์การดูร่วมกับคนที่นั่งข้างผมทั้งสองคนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ทั้งสองคนนั้นผมก็ไม่รู้จักพวกเขา แต่ก็ร่วมเดินทางไปกับการเดินทางที่ยิ่งใหญ่นี้ไปกับพวกเขา ผมพบว่ามันน่าตื่นเต้นตลอดและยิ่งใหญ่มากจริง ๆ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ผมขอถามคำถามหน่อยนะเรื่องที่ว่าการเล่าเรื่องแบบเป็นกลุ่มก้อนนี่มันเป็นมายังไง แต่เดี๋ยวนะ คุณใช้วลีที่ว่า “ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง” มันเป็นระยะเวลาที่มากอยู่นะ

แจ็ค ทอร์น: ใช่ครับ คุณใช้เวลาทั้งวันกับพวกเรา และนั่นก็เป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์นะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันเหมือนกับเป็นทุกสิ่งอย่าง ไม่รู้สิ บางคนก็พูดว่าเป็นเบรกสั้น ๆ ช่วงสุดสัปดาห์อะไรแบบนั้น

แจ็ค ทอร์น: และมันก็เกิดขึ้นเพราะพวกเราทำชิ้นงานพวกนี้ด้วยกัน ผมเป็นคนเขียนมันขึ้นมาจากความคิดร่วมกันว่าเนื้อเรื่องควรจะเป็นยังไง และพวกเราก็นั่งลงในที่สุดแล้วคิดได้ว่า “นี่มันช่างเป็นชิ้นงานที่ยาวเสียจริง” สิ่งที่งดงามเกี่ยวกับพวกหนังสือก็คือคุณใช้เวลามากมายกับพวกมันแล้วทำสิ่งปกติมากมาย เปรียบแล้วบทบาทก็เหมือนกับอาหารในหนังสือพวกนั้น คุณแบ่งปันอาหารมื้อใหญ่กับพวกมันตลอดทางจนจบเรื่อง

พวกเราอาจสามารถเร่งรีบทำงานให้ออกมาเสร็จจนได้ โดยพยายามบีบเนื้อหาโครงเรื่องให้มากเท่าที่จะทำได้ให้เป็นช่วงเวลาประสบการณ์การดูละครใน 2 ชั่วโมงครึ่ง แต่มันจะไม่ยุติธรรมกับเนื้อเรื่องที่พวกเราต้องการจะเล่า และมันก็จะไม่ยุติธรรมต่อแฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วย แถมจะทำให้พวกเราไม่มีโอกาสใช้เวลาเพียงพอกับพวกตัวละครทั้งหลาย รวมถึงใช้เวลาพูดถึงว่าพวกเขาทั้งหมดอยู่ในจุดไหน แล้วทำไมถึงไปอยู่ในจุดนั้น

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่มันเป็นไปได้ไหมว่ามันเป็นการให้อะไรแฟนพอตเตอร์มากไป หรือว่าพวกเขาซึมซับอะไรก็ตามที่คุณจะจัดให้พวกเขาอยู่ดี ก็แล้วทำไมถึงทำออกมาแค่สองการแสดง ทำไมไม่เอาสักสัปดาห์ล่ะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: นั่นก็เพราะ (เธอเริ่มพูดเหมือนกับเป็นแม่) ผู้คนต้องการอะไรเยอะมาก และนั่นก็ไม่ได้แปลว่าพวกเขาควรได้ทุกอย่างที่พวกเขาต้องการ พวกเราแค่จะให้สิ่งที่ดีสำหรับพวกเขา และพวกเราตัดสินใจแล้วว่ามันคืออะไร และแน่นอนล่ะ คุณพูดถูก

มาร์ค ฟิลลิปส์: ก็ยาวพอที่พวกเราจะจัดการกินจานสุดท้ายเสร็จล่ะนะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอาเลย มันเยอะอยู่แล้ว มันก็ระยะเวลายาวอยู่นะถ้าจะขอให้ผู้ชมโดยเฉพาะผู้ชมวัยเด็กนั่งดูน่ะค่ะ แต่ฉันก็ภูมิใจมาก ๆ เลยที่พูดได้ว่าพวกเขาทั้งหมดกลับมาดูส่วนที่สองอย่างกระตือรือร้นและก็ตื่นเต้น

จอห์น ทิฟฟานี: ตอนที่พวกเรามีไอเดียว่าพวกเราจะให้ช่วงครึ่งแรกจบยังไง แน่นอนว่าพวกเราจะไม่พูดหรอก มันออกจะชัดเจนว่ามันกำลังบอกพวกเราว่า “นี่จะต้องยาวเกินกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง นี่มันจะต้องออกมาเป็นเหตุการณ์ 2 ส่วน” คุณก็รู้ ผมมีประสบการณ์ที่น่าอัศจรรย์ในโรงละครที่คุณไปมายาวนานกว่าที่ใครคนไหนจะคิดว่าเป็นเวลาที่เหมาะ คุณไปในช่วงเวลาและสถานที่ที่มันต่าง และผู้ชมก็เหมือนว่าจะรักที่จะทำอย่างนั้น ไม่มีใครเลยที่ดูเหมือนจะพูดกับพวกเราว่าละครเวทีนี่มันยาวเกินไป

กับหนังสือนิยาย พวกเขาเล่าเรื่องผ่านจำนวนหน้าที่หลากหลาย แต่กับละคร มันต้องการมากกว่านั้นในการเล่าเรื่องที่คล้ายกัน ดังนั้นพวกเราเลยรู้ว่าพวกเราจะต้องเผยแพร่เรื่องนี้ไปอีกยาวนาน และโซเนีย ฟรีดแมน (Sonia Friedman) กับโคลิน คัลแลนเดอร์ (Colin Callender) ผู้อำนวยการสร้างของพวกเราก็สนับสนุนพวกเราอย่างที่สุด แม้ว่าสำหรับพวกเขาแล้ว มันจะกลายเป็นการทำให้ทำงานได้ยากเย็นขึ้นในแง่ขายตั๋วสองส่วน

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่ค่ะ ถ้าว่ากันตามหลักตรรกะมันก็ยากอยู่

จอห์น ทิฟฟานี: อืม ในแง่บ็อกซ์ออฟฟิศน่ะนะ

แจ็ค ทอร์น: และพวกเราก็ต้องซ้อมบทกันทั้งสองตอน กลายเป็นว่าทุกอย่างต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

มาร์ค ฟิลลิปส์: ไอเดียสำหรับหนังสือมาจากคุณ และไอเดียสำหรับภาพยนตร์ก็มาจากหนังสือ และนี่เป็นการยืดขยายเนื้อเรื่องไปสู่อนาคต ใครล่ะเป็นคนทำ ใครกันในพวกคุณ 3 คนที่รับผิดชอบมากที่สุดในเรื่องเนื้อหาที่เขียนเป็นเรื่องราวไปสู่อนาคต

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: การพัฒนาส่วนเนื้อเรื่อง ฉันคิดว่า มันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างพวกเรา 3 คนนะคะ ตัวฉันด้วยเหตุผลที่ออกจะเด่นชัดเลยมีอำนาจที่จะระงับทุกสิ่งทุกอย่างได้ ฉันอาจพูดว่า “ไม่ มันจะไม่เกิดขึ้น” แต่ไม่ล่ะ มันเป็นงานของพวกเรา 3 คน โดยส่วนบทละครนั้นเป็นบทละครของแจ็ค แจ็คเป็นคนเขียนและทำในมันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างสวยงามค่ะ ฉันไม่อาจมีความสุขได้มากกว่านี้อีกแล้ว

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่คุณก็ยังผูกขาดอำนาจอยู่ เหมือนกับที่คุณทำในภาพยนตร์ อำนาจในการยับยั้งแค่เพราะคุณรู้สึกว่าคุณยังคงเป็นเจ้าของตัวละครพอตเตอร์

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: มันไม่ใช่ประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าของหรอกค่ะ ฉันรู้ว่านี่มันฟังดูประหลาดมาก ฉันรู้ว่ามันใช่ เวลาที่ฉันมีความรู้สึกแบบว่า “โอ้ ใช่แล้ว แน่นอน มันเกิดขึ้นแล้ว” และพอพวกเรา 3 คนพยายามลงความเห็นกัน 1 ในพวกเขาก็จะพูดขึ้นมาว่า “เอ่อ จะเป็นไงถ้า…” และฉันก็จะรู้สึกว่า “โอ้ ใช่แล้ว แน่นอน นั่นแหละที่มันเกิดขึ้น” ฉันก็แค่รู้น่ะค่ะ

และบางครั้งก็เป็นฉันเองที่พูดว่า “ฉันคิดว่านี่เกิดขึ้นนะ” และไม่แปลกใจเลยกับความคิดของฉันเอง เพราะฉันรู้อยู่แล้วว่าพวกมันอาจจะเกิดขึ้น และก็บ่อยนะคะที่พวกเรามานั่งรวมกันพยายามที่จะใช้กลวิธีบางอย่าง แล้ว 1 ในพวกเขาก็จะพูด และฉันก็จะรู้ได้ว่า “ใช่แล้ว นั่นแหละวิธีที่มันเกิดขึ้น” มันรู้สึกเหมือนว่าเป็นการขุดค้นที่ฉันรู้ได้ว่าฉันทำมาถูกทางแล้ว และพอฉันรู้สึกแบบนั้น มันก็เหมือนว่าฉันได้เปิดเผยเรื่องราวที่มันมีมานั่นอยู่แล้วจริง ๆ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ซึ่งก็คือสิ่งที่คุณได้พูดมาตลอดเกี่ยวกับเนื้อเรื่องสินะครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่เลยค่ะ ฉันมีประสบการณ์แบบนั้นเด๊ะเลย มันเป็น 1 ในประสบการณ์ที่สุขสันต์มาก ๆ อย่างหนึ่งในชีวิตของฉันเลย การได้ทำงานกับทั้งสองคนนี้ ฉันรักมันจริง ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แค่เพียงเพราะคุณสามารถแบ่งปันภาระไปได้ หรือว่าเพราะความสัมพันธ์กันล่ะครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ไม่ใช่อะไรอย่างนั้นค่ะ คุณก็รู้นะ ฉันกำลังเขียนบทภาพยนตร์อยู่ตอนนี้ และออกจะชัดเจนว่ามันต้องใช้ขั้นตอนการทำงานร่วมกันมากกว่าการเขียนนิยาย แต่มันก็มีบางอย่างที่พิเศษมากเกี่ยวกับพื้นที่นี้ โรงละครนี้ และการทำงานร่วมกัน แล้วคุณก็พูดนี่แจ็ค เรื่องการแสดงของพอล ทอร์นลีย์ในบทบาทรอนน่ะ

แจ็ค ทอร์น: อ่อ ใช่

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: คุณพูดว่าคุณรู้สึกว่าเขามีส่วนช่วยในการเขียนลักษณะตัวละครนั้น

แจ็ค ทอร์น: แน่นอนเลย พวกเราใช้เวลากว่า 6 เดือนอยู่ในห้องร่วมกับกลุ่มนักแสดง และนั่นมันก็เป็นหนึ่งในสิ่งสวยงามเกี่ยวกับการละคร คุณใช้เวลาร่วมกับผู้คนที่จะมาสวมบทบาทพวกนั้น เพราะฉะนั้นเวลาคุณสร้างงานขึ้นมา ทุกคนก็จะรับมันไป คริสทีน โจนส์ ดีไซน์เนอร์ของพวกเรา สตีเว่น นักออกแบบท่าทาง คุณก็รู้ ทุกคนมีบทบาทที่ต้องแสดงในเรื่องนี้

ผมพูดเสมอว่า จอห์น สตีเว่น และผมทำบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน และสิ่งที่น่ารำคาญเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือพวกฉากที่ผมชอบที่สุดมักเป็นผลงานที่สตีเว่นทำตลอดเลย ไม่ใช่ที่ผมทำเลย แล้วมันก็มีบ้างในช่วงครึ่งสองของส่วนแรก เอ๊ะ ฉันพูดได้ไหมว่ามันเรียกว่าอะไร หรือว่ามันจะสปอยล์อะไรไป

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณจะต้องคิดและเข้าใจด้วยตัวคุณเอง

จอห์น ทิฟฟานี: คุณอธิบายได้นะว่ามันเกี่ยวกับอะไร

แจ็ค ทอร์น: เอาล่ะ มันเกี่ยวกับเด็กผู้ชาย 2 คนที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนกับกันและกัน และพวกเขาก็กำลังต่อสู้ดิ้นรนกับจุดที่พวกเขาอยู่ในความสัมพันธ์ของพวกเขา

มาร์ค ฟิลลิปส์: โอเค พวกเราพอจะพูดได้ว่าพวกเขาล้มเหลวสินะ

Anthony Boyle รับบท สกอร์เปียส มัลฟอย และ Sam Clemmett รับบท อัลบัส พอตเตอร์ ใน “Harry Potter and the Cursed Child”

แจ็ค ทอร์น: ใช่ครับ นั่นแหละที่มีสิ่งสวยงามนี้ มันเรียกว่าท่าเต้นขั้นบันได และผมก็เขียนคำต่าง ๆ สำหรับเหตุการณ์นั้นไว้นะ ผมคิดว่ามันอยู่ในช่วงครึ่งทางระหว่างขั้นตอนการซ้อมบทนะ ผมคิดว่าคุณพูดกับผมนะว่า “สิ่งที่สตีเว่นเล่าในเรื่องนั้นไปไกลดีกว่าที่คุณทำนะ เพราะงั้นเราน่าจะตัดคำพวกนี้ออกไปได้” และก็อีกรอบ ช่วงเวลาที่ผมโปรดปรานที่สุดในละครเวที สตีเว่นได้ทำกับผมอีกแล้ว หมายถึงขโมยซีนน่ะ ผมก็เลยนั่งตลอดเวลาคอยดูในส่วนงานของเขามากกว่าที่จะเป็นของผม ซึ่งดีเลยทีเดียวแต่ก็เศร้าอยู่นะ

จอห์น ทิฟฟานี: มันน่าเหลือเชื่อนะที่ว่า “19 ปีต่อมา” ถูกต่อยอดมาตั้งขนาดไหนจากช่วงบทสุดท้ายของ “เครื่องรางยมทูต” แล้วเราก็เพิ่งผ่านพ้นวันที่ว่านั่นไปเอง 1 กันยายน 2017 น่าอัศจรรย์จริง พวกเราจัดงานฉลองที่น่าทึ่งในโรงละครด้วย ปกติพวกเราจะมีตั๋ว 40 ใบทุกสัปดาห์สำหรับที่นั่งบางส่วนที่ดีที่สุดและราคาถูกมาก และนี่ก็วันศุกร์ มี 400 คนแล้วที่ได้ไปอยู่ที่นั่น และก็มีหลายคนเลยที่แต่งชุดเสื้อคลุมฮอกวอตส์ไป

มาร์ค ฟิลลิปส์: พวกเราอยู่ในประวัติศาสตร์แล้ว

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่เลยล่ะ มันเป็นคืนหนึ่งที่โดดเด่นสุด ๆ เมื่อผู้คนกำลังมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นในวันที่เกิดขึ้นจริง

มาร์ค ฟิลลิปส์: ที่ว่ามานี่ถึงจุดที่เรียกได้ว่าสถานะของการเป็นลัทธิแล้วรึยัง

จอห์น ทิฟฟานี: ลัทธิหรอ?

มาร์ค ฟิลลิปส์: ก็แบบมันไปไกลเกินกว่าวรรณกรรมเยาวชน หรือวรรณกรรมแล้วไหม ผู้ชมทั้งช่วงบ่ายแล้วก็ช่วงค่ำที่ผมอยู่ด้วยที่นี่เหมือนจะอยู่ในภาวะแบบว่า ผมขอเรียกว่า ความยินดีอย่างยิ่ง แบบเงียบตลอดเวลาที่ดูละคร แล้วก็มีน้อยมากที่จริง ๆ ผมหวังว่าจะเกิดการปะทุอารมณ์ขึ้นมาระหว่างดู ผู้ชมแค่นั่งแล้วก็ดูไป มันเหมือนกับว่ามันเป็นการฟังเทศน์หรือรอคอยพวกคำตอบของคำถามทั้งหลายที่มีอยู่หรืออะไรแบบนั้น มันไปไกลเกินกว่าวรรณกรรมที่ทำให้การรวมตัวทางวัฒนธรรมมันกว้างขึ้นกว่าเดิมด้วยวิธีใดก็ตามอย่างนั้นไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันคิดว่าเวลาฉันพบผู้คนที่อยู่ในช่วงวัย 20 ปีขึ้นไปน่ะ คุณก็รู้ใช่ไหม พวกเขาเติบโตมากับหนังสือจริง ๆ มันเป็นกลุ่มคนรุ่นนั้นที่เห็นว่าพวกหนังสือมันมีความหมายบางอย่างมากกว่าแค่เรื่องราว และนั่นมันก็คือความจริง ฉันรู้เรื่องนี้เพราะฉันพบพวกเขา แล้วพวกเราก็คุยกัน มันเป็นข้อได้เปรียบพิเศษจริง ๆ ฉันรู้สึกซาบซึ้ง ประหลาดใจ แล้วก็รู้สึกได้ถึงเรื่องราวที่พวกเขาเล่าให้ฉันรู้ เช่นว่า “มันทำให้ฉันผ่านพ้นช่วงเวลาที่พ่อแม่หย่ากันมาได้” หรืออาการเจ็บป่วย “ฉันนอนซมบนเตียงกว่า 6 เดือน และฉันก็ฟังหนังสือเสียงทั้งหมด”

มันเป็นช่วงเวลาที่สับสนในชีวิตของพวกคุณ และกลายเป็นว่าผู้คนเชื่อมต่อกับพอตเตอร์ในช่วงวัยรุ่น พวกเขามีชีวิตและเติบโตไปพร้อมกับเรื่องราวในช่วงเดียวกับที่แฮร์รี่ รอน เฮอร์ไมโอนี่โตเป็นหนุ่มเป็นสาว และฉันก็เข้าใจในจุดนั้น ฉันคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญกับคุณในตอนนั้น มันจะอยู่ท่ามกลางสิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญกับคุณที่สุดตลอดไป มันเป็นช่วงเวลานั้นของชีวิต พวกมันจะฝังอยู่ในใจคุณ พวกมันจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ ฉันเองก็มีประสบการณ์แบบนั้นอยู่กับหลายสิ่งและหลายคนในช่วงวัยรุ่นของฉัน เพราะงั้นฉันก็เลยเข้าใจดี ฉันคิดว่านั้นแหละคือที่มา

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่ว่านะ พวกผู้คนที่มาที่โรงละครนี้ หรือพวกผู้คนที่คุณคาดหวังว่าจะไปที่โรงละครที่บรอดเวย์ จะเป็นกลุ่มคนเดียวกันไหม หรือพวกเขาจะเป็นเด็ก ๆ ของคนกลุ่มเดิมที่ว่าไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ทั้งสองค่ะ ฉันนั่งในชั้นบ็อกซ์ มันจะมีชั้นบ็อกซ์ที่ไม่เคยขายออกไปให้สาธารณะเพราะว่าคุณจะเห็นเบื้องหลังฉากได้ และจะเห็นว่าสิ่งต่างๆ ถูกทำขึ้นมาได้ยังไง

มาร์ค ฟิลลิปส์: เห็นทริคทั้งหลายน่ะเหรอครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: มันไม่สำคัญหรอกที่ว่าฉันไปนั่งจุดนั้น เพราะถึงยังไงฉันก็รู้อยู่ดีว่ามันถูกทำออกมายังไง ฉันได้ดูละครเวทีนี้มาประมาณ 10 รอบแล้ว และฉันก็นั่งตรงนั้นตลอด คุณจะได้เห็นภาพที่น่าทึ่งของกลุ่มผู้ชม จะได้เห็นทั้งครอบครัว บางครั้งคุณสามารถบอกได้เลยว่าใครคนไหนเติบโตมาพร้อมกับหนังสือ หรือคนช่วงอายุประมาณ 20 กว่าในกลุ่มนั้น แต่คุณก็จะได้เห็นพวกเด็ก ๆ แล้วก็ปู่ย่าตายายของพวกเขาด้วยซึ่งก็อาจจะอ่านพวกหนังสือเป็นครั้งแรกพร้อม ๆ กับพวกหลาน และนั่นเป็นสิ่งสวยงามที่สุดที่ได้เห็น

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วพวกหนังสือช่วยดึงให้คนรุ่นใหม่ ๆ เข้ามาได้บ้างไหมครับ อย่างผมเองก็มีลูก ๆ ที่ทันยุคแรกของกระแสแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์และตอนนี้ก็ยังสนใจอยู่ พวกเด็ก ๆ ในยุคนั้นที่อ่านหนังสือตอนที่ออกมาเป็นครั้งแรกพอมาตอนนี้พวกเขายังกลับมาอ่านพวกหนังสืออีกไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: แน่นอนว่าฉันไม่สามารถพูดได้ถึงกรณีทุกคน ฉันรู้ว่ามันกำลังเกิดขึ้น เพราะอย่างที่บอก ฉันพบผู้คนที่บอกฉันว่างั้น ดังนั้นฉันคิดว่าคนในยุคพอตเตอร์นั้นต้องการอ่านหนังสือพวกนั้นให้ลูก ๆ ของพวกเขาฟังแน่ มันเกิดขึ้นบ่อยเลย

แจ็ค ทอร์น: หลานชายของผมอายุ 10 ขวบ และเขาก็ติดเรื่องนี้จริง ๆ

มาร์ค ฟิลลิปส์: เอ่อ คำถามก็คือ ผมเดาว่า ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในช่วงเวลาไหน พวกเขาก็ยังเป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมอยู่ดีตลอดกระแสทั้ง 7 ครั้งที่พวกเขาผ่านมา

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: พวกเขาเป็นอย่างนั้นค่ะ และเวลาแบบนั้นจะไม่กลับมาอีกแล้ว แน่นอนว่ามันจะไม่กลับมาอีก เพราะคุณมีทั้งพวกหนังสือและพวกภาพยนตร์ที่ออกมาแล้ว และมันก็เป็นบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งในบางครั้ง สำหรับผู้ที่ริเริ่มสร้างมันขึ้นมา มันก็ออกจะเป็นประสบการณ์ที่น่าอึดอัดอยู่บ้าง

มาร์ค ฟิลลิปส์: อย่างไรเหรอครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เพราะมันเป็นสิ่งที่ท่วมท้น และเพราะว่ามันช่างบ้าคลั่งเสียจริง ฉันเอาแต่คิดว่า “แน่ล่ะ แค่นี้แหละ ตอนนี้พวกเราพอแล้ว พวกเราถึงจุดสูงสุดแล้ว” แล้วจากนั้นมันก็ใหญ่ขึ้นไปอีก

มาร์ค ฟิลลิปส์: แม้แต่ช่วงตีพิมพ์หนังสือทั้ง 7 เล่ม คุณก็คิดว่า “นี่มันไปต่อไม่ได้แล้วนะ นี่มันบ้าบ้าไปแล้ว” น่ะเหรอ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่ค่ะ ฉันคิดงั้น มันไม่มีอะไรที่จะเตรียมคุณให้พร้อมในการอยู่ท่ามกลางสถานการณ์แบบนั้นได้เลย มันไม่มีคู่มือฝึกฝนที่จะอธิบายกับคุณได้ว่ามันเป็นยังไง และพวกนักเขียนของเด็ก ๆ โดยทั่วไปก็ไม่ได้ประสบกับเรื่องแบบนี้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ฉันเห็นว่ามันจะมา

มาร์ค ฟิลลิปส์: นั่นเป็นเรื่องที่ผมจะพูดถึงเลย เพราะ…

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฟังนะ ฉันไม่อยากดูเนรคุณหรอก แต่ฉันขอผ่านประเด็นนี้เถอะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันก็ไม่เหมือนกับว่าคุณพูดว่ามันเป็นเรื่องไม่ดีนี่

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันไม่มานั่งนี่แล้วคร่ำครวญอย่างน้อยที่สุดหรอกนะ ปัญหาน่าทึ่งอะไรกันนี่! แต่ฉันแค่อยากซื่อตรงให้มาก ในตอนนั้นมันมีความรู้สึกท่วมท้นอย่างน่าเหลือเชื่อจริง ๆ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่ถึงอย่างนั้นคุณก็ไม่ได้คาดหวังมัน ผมจำได้ว่าในตอนนั้นพวกเราได้คุยกันหลังจากเล่ม 3 ออกมา คุณพูดไว้ว่านักเขียนงานวรรณกรรมเด็กทุกคนเท่าที่คุณรู้จักมีอาชีพอื่นอีกที่ช่วยสนับสนุนนิสัยพวกเขา และผมเดาว่าคุณอยู่ในจุดที่คุณไม่ต้องการงานอื่น

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ตอนที่พวกเราคุยกันในปี 1999 ฉันทำงานสอนจนกระทั่งเมื่อปีก่อนหน้านั้น ใช่ค่ะ ฉันสอนถึงปี 1998 และในปีนั้นเองฉันคิดว่าฉันพูดกับตัวเองว่า “ฉันอาจพอพึ่งพาตัวเองได้บ้างถ้าหยุดงานสักปี” มันไม่ใช่เพราะว่าฉันเก่งพอที่จะพึ่งพาตัวเองได้ แต่เพราะดูเหมือนว่าฉันอาจจะพอเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์ไปเรื่อย ๆ ได้บ้าง

มาร์ค ฟิลลิปส์: เพราะคุณทำเงินได้มากในตอนนั้นสินะครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: มันก็ไม่ถึงขั้นนั้นค่ะ ฉันรู้สึกว่า “ฉันอาจพอหยุดงานสักปีได้ แล้วดูสิว่าถ้าฉันทยอยใช้จ่ายจะเป็นยังไง แต่ฉันก็ไม่อยากบอกตัวเองว่าจะหยุดงานเกิน 1 ปีหรอกนะ” ไม่งั้นคุณจะเริ่มหางานสอนอีกครั้งไม่ได้ และฉันก็ไม่อาจปล่อยตัวให้ว่างนานแบบนั้นได้หรอก

มาร์ค ฟิลลิปส์: ใช่เลย ตอนนั้นคุณไม่ได้อยากออกจากงานประจำ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: และฉันก็มีลูกที่ต้องดูแลด้วย ถ้าฉันอยู่ตัวคนเดียวล่ะก็ ฉันคงเลือกอดอยากอยู่ในห้องใต้หลังคาอย่างมีความสุขแล้วล่ะ

แจ็ค ทอร์น: แล้วมันเปลี่ยนรูปแบบการเขียนงานของคุณอย่างไรไหม เพราะว่าถ้าคุณทำงานระหว่างวัน ผมหมายถึงว่า ผมมีเพื่อนที่เป็นนักเขียนอยู่หลายคน แล้วพวกเราก็คุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องนี้กันตลอดเวลา ถ้าคุณมีแบบแผนของวันของคุณเอง เช่นว่า “ฉันทำงาน แล้วจากนั้นฉันก็มีเวลาสักสองชั่วโมงทำงานเขียน” มันก็จะเปลี่ยนไปเยอะมากนี่จริงไหม และแรงกดดันต่อตัวคุณเองเวลาคุณไม่มีอะไรอื่นทำในช่วงวัน มันก็ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ๊ะ ก็ไม่นะ ฉันรักมันออก

แจ็ค ทอร์น: อ่อ โอเค งั้นมันก็รู้สึกเหมือนว่ามีอิสระน่ะเหรอ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ตามนั้นเลย

แจ็ค ทอร์น: เข้าใจล่ะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ช่วงปี 1998 ฉันทำงานการสอนแบบสอนแทนน่ะ เพราะฉะนั้นฉันก็เลยไม่ได้สอนทุกวันอยู่แล้ว

แจ็ค ทอร์น: อ๋อ โอเค

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: แล้วพอฉันตัดสินใจ “โอเค ฉันจะหยุดสักนิดแล้วดูสิว่ามันจะเป็นยังไง แต่ฉันก็ไม่อาจออกจากงานสอนได้นานหรอก” ฉันไม่เคยมีปัญหาเรื่องใช้เวลาในแต่ละวันของฉันไปกับการเขียนหรอกนะ มันก็เหมือนแก๊ส มันจะแผ่ขยายออกลามไปทั่วที่ว่าง

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันมีช่วงไหนไหมที่คุณตระหนักได้ว่า “ชีวิตของฉันทั้งชีวิตแตกต่างไปจากที่ฉันคิดว่ามันจะเป็น” “มีพวกม้ามาลากรถม้านี่โดยที่ฉันไม่ต้องควบคุมมันเลย”

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันคิดว่านั่นแหละชีวิตของฉันทั้งหมดจริง ๆ ค่ะ (หัวเราะ) ฉันคิดว่าไม่มีช่วงไหนเลยนะที่ฉันรู้สึกว่าควบคุมได้หมด ใช่เลย กับพอตเตอร์ มันอาจจะเป็นยังงั้น ราว ๆ ช่วงที่ฉันพบคุณ และทั้งสองสิ่งก็ไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกันเลย

มาร์ค ฟิลลิปส์: ไม่เหรอ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ราว ๆ ปี 1999 ฉันคิดว่ามันเริ่มจะส่อแววให้ฉันรู้แล้วว่ามันจะไม่ไปไหน และก็อีกครั้ง มันออกจะฟังดูเหมือนเนรคุณ ฉันไม่ได้ต้องการให้พวกหนังสือไม่ขาย ฉันมีความสุขดีที่ได้ทำงานเต็มเวลา ก็ตลกดีนะ “อัซคาบัน” เป็น 1 ในเล่มที่เขียนแล้วสนุกที่สุด เพราะแรงกดดันมันออกไปจากฉันจริง ๆ พวกเราไม่ได้มีเงินมากมายอะไร แต่ฉันรู้ว่าฉันสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ ฉันรู้ว่าฉันไม่ต้องรีบเร่งกลับไปทำงานสอน และพวกเราก็จัดการซื้อบ้านของพวกเราเอง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นบ้านใหญ่โตอะไรแต่อยู่ในใจกลางเมืองเอดินบะระ และมันเป็นของพวกเรา ฉันไม่เคยมีบ้านเป็นของตัวเองมาก่อน ดังนั้นช่วงราว ๆ “อัซคาบัน” ฉันจำได้ว่าคิดว่า “โอเค ๆ หยุดซะ เก็บสะสมงานไว้ มันโอเคแล้ว พวกเรารับมือมันได้น่ะ” แต่แล้วทุกอย่างก็ไปไกลสุดกู่ เพราะตอนนั้นภาพยนตร์ก็เริ่มด้วย แล้วพอช่วง “ถ้วยอัคนี” ฉันจำได้ว่าสติแตกสุด ๆ ไปเลย ช่วงราวๆ ปี 2000 ทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ในระดับที่ใหญ่โตขึ้นและบ้าสุดโต่งมาก

มาร์ค ฟิลลิปส์: และนั่นก็เป็นช่วงที่พวกเด็ก ๆ เริ่มเข้าแถวกันข้ามคืนเพื่อที่จะซื้อหนังสือใช่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: พวกเขาทำแบบนั้นนิดหน่อยตอน “อัซคาบัน” แต่ยังไม่ถึงขั้นสุดโต่งเท่าไหร่นัก ฉันคิดว่ามันน่าจะราว ๆ ปี 2000 นะที่ฉันรู้สึกได้อย่างแท้จริงว่า “ฉันไม่ได้เห็นว่าสิ่งนี้กำลังมา และมันก็สุดโต่งไปเสียแล้ว”

มาร์ค ฟิลลิปส์: มีหลายสิ่งเกิดขึ้นในชีวิตของคุณ ชัดเจนเลยว่าตั้งแต่ตอนนั้นมา ในระดับความเป็นส่วนตัว เพราะว่ามันใหญ่ขึ้น คุณมีปัญหาในการรักษาสมดุลบ้างไหม หรือว่าอิสรภาพที่ความสำเร็จมีให้คุณ ช่วยเอื้อให้คุณเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเรื่องพอตเตอร์ทั้งหมดในแง่ของการตีพิมพ์

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: นี่ทำให้เราย้อนกลับไปที่เรื่องของละครเวทีนะ (หัวเราะ) เพราะแฮร์รี่ต้องต่อสู้กับ…..

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณกลายเป็นตัวละครของคุณไปแล้วเหรอ (หัวเราะ)

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อก็ เขาก็จะผ่านพ้นเรื่องบางเรื่องในแบบที่เคยต่อสู้กับอดีตน่ะนะ

แจ็ค ทอร์น: 1 ในคำถามของพวกเราก่อนเริ่มขั้นตอนทั้งหมดก็คือ “มันจะเป็นยังไงนะที่เกิดมาเป็นลูกของเนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela)” (เนลสันเป็นอดีตผู้นำของแอฟริกาใต้ที่ต่อต้านการเหยียดผิวเพื่อมุ่งหวังให้เกิดสันติภาพและความเท่าเทียมในโลก)

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อ ลูก ๆ ของฉันไม่ได้รู้สึกแบบลูก ๆ ของเนลสัน แมนเดลาแน่ ๆ ล่ะ (หัวเราะ) ก็เอาให้เคลียร์นะ แค่อยากจดลงไป

มาร์ค ฟิลลิปส์: ลูกของคนมีชื่อเสียงหรืออะไรประมาณนั้น

แจ็ค ทอร์น: เอ่อ ไม่ใช่แค่คนมีชื่อเสียงนะครับ แต่เป็นใครสักคนที่ปกป้องโลก ซึ่งแตกต่างจากแค่การมีชื่อเสียง แฮร์รี่ถูกมองว่าเป็นผู้ช่วยชีวิต ดังนั้นการเป็นลูกของคนแบบนั้น และพยายามที่จะสร้างทางของตัวเองในโลกนี้มันก็…

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันคิดว่าฉันรู้สึกโดยส่วนตัวเหมือนว่าถูกปล่อยให้เป็นอิสระตอนนี้แล้ว ฉันชอบที่จะทำพวกสิ่งที่ทำให้ฉันกลัว ฉันรู้สึกราวกับว่ามันนานแสนนานแล้วที่ฉันหลบซ่อนจากมัน และตอนนี้ฉันแค่อยากจะเป็นตัวฉัน และทำในสิ่งที่ฉันอยากจะทำ แฮร์รี่เองในทางหนึ่งก็เป็นเหมือนภาพในทางลบของสิ่งนั้น เขาไม่เคยได้รับอนุญาตให้หลบซ่อน และในละครเวทีของพวกเรา พวกเราจะเห็นเขาพยายามที่จะหาพื้นที่ส่วนตัว

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันยากนะที่จะคุยเกี่ยวกับเรื่องอะไรสักหน่อยในเมื่อคุณไม่ได้รับอนุญาตให้คุยถึงมัน (หัวเราะ)

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอาน่า คุณสามารถคุยเรื่องเกี่ยวกับธีมได้นี่ค่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ก็ได้ครับ งั้น 1 ในธีมก็คือ… เดี๋ยวนะ ขอย้อนกลับไปที่บทสนทนาอื่นอีกที ผมจำได้ว่าคุณเคยพูดไว้ว่า “ไม่มีเด็กคนไหนที่จะไม่ดูพ่อแม่แล้วคิดว่า ฉันมีพ่อแม่แบบนี้ได้ยังไง”

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: อ่าฮะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วมันมีอะไรแบบนี้ในละครเวทีด้วยใช่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: โอ๊ย เยอะเลย นั่นเป็นแก่นหลักเลยค่ะ  แจ็คเขียนเนื้อหาท่อนนี้ออกมาได้อย่างดีงาม “พวกเราคิดว่าการเป็นพ่อแม่เป็นงานที่หนักที่สุด แต่พวกเราก็หลงลืมว่า การเติบโตต่างหากที่เป็นงานที่หนักที่สุด” และระหว่างการเขียนบทละครนี้ แจ็คก็กลายมาเป็นพ่อเป็นครั้งแรก (หัวเราะ) พวกเรายังคิดแบบนั้นใช่ไหมแจ็ค

แจ็ค ทอร์น: ไม่รู้สิ (หัวเราะ)

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ฉันคิดว่ามันเป็นท่อนที่ฉลาดคิดจริง ๆ นะ เพราะฉันคิดว่ามันมีความจริงมากมายอยู่ในนั้น และเหตุผลส่วนหนึ่งที่การเป็นพ่อแม่เป็นเรื่องที่ยากก็คือ อะไรคือสิ่งที่คุณจำได้ และอะไรที่คุณหลงลืมเกี่ยวกับการเติบโต

Jamie Parker รับบท แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ Sam Clemmett รับบท อัลบัส พอตเตอร์ ใน “Harry Potter and the Cursed Child”

แจ็ค ทอร์น: ผมใช้เวลาทั้งชีวิตของผมในตอนนั้น ตกตะลึงกับสิ่งที่เขาจะเป็นตอนเขาอายุ 15 เพราะผมเคยเป็นเด็กอายุ 15 ที่ไม่ดีเท่าไหร่ ผมเลยระมัดระวังไม่ให้เขาแบกภาระของผม (หัวเราะ)

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: นี่แหละละครเวที

แจ็ค ทอร์น: ใช่เลย ๆ แต่คุณก็รู้นะ ละครเวทีหลอมรวมไปหาแก่นของมันที่ว่าใครสักคนที่ไม่มีพ่อ เรียนรู้ที่จะเป็นพ่อว่าไหม

จอห์น ทิฟฟานี: หรือพ่อแม่ผู้ปกครอง

แจ็ค ทอร์น: ใช่ ๆ นั่นล่ะ

จอห์น ทิฟฟานี: และหนึ่งในประสบการณ์ที่น่าชมก็คือการที่ได้พบผู้ชมและผู้คนที่จะมาค้นพบงานของโจเป็นครั้งแรกและโลกของแฮร์รี่ และก็กลุ่มคนที่อายุ 11 ปีตอนที่หนังสือเล่มแรกออกมาและมีชีวิตอยู่มาตลอดหลายปีมานั้นกับแฮร์รี่ รอน และเฮอร์ไมโอนี่ มันเป็นเกียรติที่แท้จริง ผมหมายถึงว่า ผมไม่ได้รู้จักเด็ก 11 ปีคนไหนที่ไม่ได้มีความคิดแบบที่ว่าคุณกำลังนำทางชีวิตผิด และคุณกำลังรอนกฮูกที่จะมาส่งแล้วบอกว่า “พวกเราต้องขอโทษเรื่องนี้จริง ๆ คุณนำทางชีวิตผิดแล้ว (หัวเราะ) คุณจำเป็นต้องไปที่โรงเรียนนี้ที่สกอตแลนด์และเรียนรู้ที่จะเป็นพ่อมด” แล้วคุณก็ไป คุณเจอสังคมของคุณ และคุณก็เจอผู้คนของคุณ

สิ่งที่ผมตระหนักได้ก็คือผู้คนแยกตัวละครพวกนี้กับโลกนี้ และมันก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ในชีวิตพวกเขา

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่แล้ว

จอห์น ทิฟฟานี: และเมื่อมันเป็นแบบนี้ มันก็ไม่ได้จะบอกว่าพวกเขาจะเศร้าสลดหรือไม่มีความสุขกับครอบครัวของพวกเขาหรืออะไรอื่น ๆ มันก็แค่… เพราะการเติบโตมันเป็นสิ่งที่ยากจริง ๆ และพวกเราจะต้องทำให้ตัวละครพวกนี้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่

จอห์น ทิฟฟานี: แล้วเมื่อเห็นผู้ชมมาและรับประสบการณ์นั้น มันก็เป็นความยินดีอย่างที่สุด พวกเราแทบรอไม่ไหวที่จะไปต่อกับการเดินทางครั้งหน้า ที่จะนำการแสดงไปที่นิวยอร์กครับ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วการเดินทางของเรื่องราวมันจะไปต่อไกลจากนั้นไหม นี่คือจุดจบของมันเหรอครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: มันจะไม่มี… ฉันหมายถึงว่า (หัวเราะ) ไม่ แค่นี้แหละ แฮร์รี่จะไม่ไปปรากฏในละครเวทีไหนอีก ก็แค่นี้ “เด็กต้องคำสาป” ฉันมีความสุขมากแล้ว พวกเราไม่สามารถจะทำสิ่งนี้ซ้ำอีก จะไม่มีอะไรสามารถมาจับคู่ทัดเทียมเสมอได้ ถ้าจะไม่มีใครรักมันหลังจากนี้ พวกเรารักมันไม่ใช่เหรอ พวกเรารักมัน (หัวเราะ)

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณมีช่วงเวลาที่ดีมากเลยสินะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: พวกเรามีช่วงเวลาที่วิเศษมากค่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่นี่ไม่ใช่การเริ่มต้นของสิ่งอื่นทั้งหมดใช่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เรื่องของแฮร์รี่ตอนนี้ ฉันจบแล้ว ฉันถูกชักชวนให้ทำเรื่อง “19 ปีต่อมา” และฉันก็ดีใจจริง ๆ ที่ถูกชวน เพราะฉันภูมิใจกับละครเวทีนี้ และไม่ล่ะ พวกเราจะไม่เห็นลูกชายของอัลบัสไปฮอกวอตส์ อย่างน้อยก็ไม่ใช่ในช่วงชีวิตของฉัน (หัวเราะ) ในอีก 100 ปี ฉันจะกลับมาและหลอกหลอนคนที่ทำมันล่ะ

แต่ถ้าพวกเราได้รับการต้อนรับ พวกเราก็ยินดีที่จะเอาเรื่องนี้ไปแสดงในหลาย ๆ ที่นะคะ เพราะพวกเรารู้ว่ามีผู้คนอีกมากมายที่อยู่ไกลออกไปกำลังพูดว่า “ฉันไปไม่ได้ ฉันไปถึงลอนดอนไม่ได้” พวกเราเลยอยากที่จะจัดแสดงมันให้ผู้คนได้ดูเยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้

มาร์ค ฟิลลิปส์: คุณพูดว่าคุณอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีความท้าทาย คุณไม่สนเลยถ้ามันไม่มีความท้าทายใช่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: อ่าฮะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: และคุณก็ทำสิ่งอื่น ๆ อีกตั้งแต่หลังจากแฮร์รี่ ผมอยากจะพูดคุยถึงเรื่องนี้สักหน่อย ถ้าคุณพูดได้ มันมีการเย้ยหยันอยู่บ้างในเรื่องอาชีพของคุณ ที่ว่าคุณเลือกที่จะเป็นที่รู้จักโดยใช้ชื่อตัวอักษรย่อ เพื่อไม่ให้คุณถูกมองว่าเป็นนักเขียนผู้หญิงในช่วงแรก

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อ ฉันเคยพูดไว้แล้วว่านั่นเป็นเพราะสำนักพิมพ์ของฉันต้องการให้เป็นอย่างนั้น และฉันก็ซาบซึ้งที่งานได้รับการตีพิมพ์ พวกเขาอาจเรียกฉันว่าพริ๊นซ์ [prince = เจ้าชาย] ก็ได้ (หัวเราะ) ฉันหมายถึงว่าพวกเขาจะเรียกฉันว่าอะไรก็แล้วแต่ที่พวกเขาต้องการ ยังไงฉันก็จะ “เอาเลย งั้นก็ได้ ขอแค่ตีพิมพ์หนังสือให้ด้วยนะ”

มาร์ค ฟิลลิปส์: แล้วใครรู้ล่ะว่าผลของการเปลี่ยนชื่อหรือใช้ตัวย่อจะเป็นไง

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อ แน่นอนค่ะ ถ้าหวนกลับไปคิด ฉันไม่คิดว่ามันจะสร้างความแตกต่างไม่ว่าอะไรก็ตามนะ เพราะภายใน 3 เดือนของการตีพิมพ์ ฉันก็ชนะรางวัลและฉันก็อยู่ในข่าวหนังสือพิมพ์ แล้วจากนั้นก็อะไรต่อมิอะไรอีก ฉันไม่คิดว่าเคยเจอใครมาพูดกับฉันว่า “ฉันคิดว่าคุณเป็นผู้ชายนะเนี่ย” เพราะงั้น ฉันก็ไม่ได้รังเกียจอะไรค่ะ ฉันค่อนข้างชอบที่ได้เป็นเจ.เค.นะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ครับ แต่เมื่อไม่นานมานี้คุณเขียนเรื่องหนังสือในฐานะผู้ชายนี่

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่ค่ะ ฉันทำ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ทำไมอย่างนั้นล่ะครับ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: กับหนังสือของรอเบิร์ต กัลเบรท (Robert Galbraith) ฉันอยากให้มันกลับไปสู่จุดเริ่มต้นค่ะ และฉันก็มีความคิดในรูปแบบเป็นเนื้อเรื่องซีรี่ส์ การที่พูดว่าฉันไม่เคยเขียนเนื้อเรื่องชุดซีรี่ส์มาก่อนเลย ก็เป็นคำโกหกที่หยาบคายอยู่นะ (หัวเราะ) แต่ฉันอยากเขียนพวกนิยายนักสืบมาตลอด แล้วฉันก็อยากกลับไปสู่จุดเริ่มต้นด้วย ฉันอยากจะส่งต้นฉบับที่ไม่ได้เรียกร้องออกไป และได้รับฟีดแบ็กตอบกลับอย่างซื่อตรง ฉันอยากกลับไปผ่านจุดขั้นตอนทั้งหมดอีกครั้ง ฉันก็เลยทำค่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่ทำไม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: คุณก็รู้ เพราะฉันไม่ได้โง่นี่คะ (หัวเราะ) ฉันตระหนักดีว่าฉันอาจเขียนเรื่องนักสืบได้ห่วยจริงแล้วผู้คนก็อาจจะพูดว่า “แหม คุณก็รู้นี่ มันอาจจะขายได้ไม่เท่าไหร่ก็ได้ แต่มันมีชื่อเธอติดอยู่บนนั้น” และนั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ฉันอยากทำ ฉันอยากรับรู้ผลของมัน นั่นแหละที่ฉันทำ และมันก็ดีนะคะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: มันไม่ได้เหมือนกับว่าคุณมีความสงสัยว่าคุณจะเขียนได้ไหม ผมว่ามันเพราะพวกคณะลูกขุนเข้ามาเอี่ยวใช่ไหม

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ก็ใช่ค่ะ แต่มันก็เป็นคนละแนวการเขียนเลยจริงไหม คุณจะเป็นคนหยิ่งทะนงถ้าคุณมัวทึกทักเอาเองว่าแค่เพราะคุณทำสิ่งหนึ่งได้หมายถึงคุณทำได้ทุกอย่าง และฉันก็ไม่ใช่คนแบบนั้น ฉันรักที่จะเขียนหนังสือชุด “สไตรก์” จริง ๆ ฉันก็เลยเขียน แล้วฉันก็จัดการจนได้รับข้อเสนอจากใครบางคนที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นฉัน

ความจริงแล้ว พวกเรามีผู้คนไม่กี่คนที่สนใจมัน แล้วบีบีซีก็เกิดอยากพบฉันโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นฉัน พวกเขาอยากพบ “รอเบิร์ต” ซึ่งน่าเหลือเชื่อนะ เพียงแต่ฉันไปประชุมไม่ได้เนี่ยสิ (หัวเราะ) เพราะว่าฉันไม่ใช่ “รอเบิร์ต” เรื่องก็ซับซ้อนอยู่บ้างตอนตัวตนของฉันถูกเปิดเผย

มาร์ค ฟิลลิปส์: แต่ว่าหนังสือก็ขายออกมาดีนี่ครับ แล้วจากนั้นพอเป็นที่รู้กันว่าคุณก็คือคุณ หนังสือก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเลย

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: ใช่ค่ะ

มาร์ค ฟิลลิปส์: ก้าวต่อไปจากนี้ ถ้าคุณไม่ทำอะไรเกี่ยวกับพอตเตอร์อีก โจจะไปไหนก็ไป ผมเดาว่านี่เป็นคำถามนะ

เจ.เค. โรว์ลิ่ง: เอ่อ แน่ล่ะว่าฉันยังมีหนังสือชุดสไตรก์อีกเยอะ แล้วฉันก็จะมีงานเขียนหนังสือเด็กอีกซึ่งจะออกมาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และฉันก็จะยังตั้งใจเขียนพวกบทภาพยนตร์ต่อไป เพราะฉันรู้สึกสนุกไปกับพวกมัน และฉันก็มีความคิดอีกสองสามอย่าง ฉันมีอะไรให้ทำอีกเยอะค่ะ

 

ละครเวที แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเด็กต้องคำสาป (Harry Potter and the Cursed Child) จะเปิดการแสดง ณ Lyric Theatre ที่บรอดเวย์ เมษายน 2018