Category: Harry Potter Encyclopedia
1 สิงหาคม 1992 เวอร์นอน เดอร์สลีย์ จ้างช่างมาติดลูกกรงหน้าต่างห้องนอนของแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ในภาพยนตร์เวอร์นอนลงมือติดตั้งด้วยตนเอง) หลังเหตุการณ์เมื่อคืนที่แฮร์รี่ทำให้เวอร์นอนพลาดเซ็นสัญญาทางธุรกิจกับนายและนางเมสัน 1 สิงหาคม 1996 วันต่อมาหลังจากเลี้ยงน้ำชาวันเกิดให้แฮร์รี่ จดหมายและรายการหนังสือจากฮอกวอตส์ก็มาส่งที่บ้านโพรงกระต่าย แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้รับจดหมายแต่งตั้งให้เขาเป็นกัปตันทีมควิดดิชบ้านกริฟฟินดอร์ด้วย 1 สิงหาคม 1997 งานแต่งงานของบิล วีสลีย์ และเฟลอร์ เดอลากูร์ ซึ่งมีขึ้นในช่วงราวบ่ายสามโมงเป็นต้นไป ในงานแต่งงาน แฮร์รี่ ใช้น้ำยาสรรพรสเพื่อเปลี่ยนร่างเป็นเด็กชายมักเกิ้ลผมแดงจากอัตเทอรี่ …
31 กรกฎาคม 1947 วันเกิดของ Richard Griffiths ผู้รับบท เวอร์นอน เดอร์สลีย์ ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ 31 กรกฎาคม 1965 วันเกิดของ เจ.เค.โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) ผู้ประพันธ์หนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และบทภาพยนตร์ “สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่” รวมถึงผู้เป็นเจ้าของเรื่องดั้งเดิมของละครเวที Harry Potter and the Cursed Child 31 …
คาถาที่ตรงไปตรงมาแต่อันตรายอย่างน่าประหลาดใจเหล่านี้ส่งผลให้ของบางอย่างขยายขนาดหรือหดตัวได้ คุณกำลังจะได้เรียนรู้คาถาทั้งคู่นี้พร้อมกัน เพื่อว่าคุณจะได้สามารถแก้ไขการร่ายคาถาที่มากเกินไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับการบังเอิญไปหดขนาดการบ้านของคุณลงจนมีขนาดเล็กกระจิ๋ว หรือการปล่อยให้คางคกยักษ์ไปอาละวาดในแปลงดอกไม้ที่โรงเรียนของคุณ วิธีการร่าย การร่ายคาถาเพื่อทำให้สิ่งของขยายขนาดขึ้นคือ ‘เอ็นกอร์จิโอ’ (Engorgio) การหดขนาดสิ่งของอย่างน่าอัศจรรย์ทำได้โดยกล่าวคาถา ‘เรดูซิโอ’ (Reducio) ท่าทางในการร่าย การจะทำให้สิ่งของขยายขนาดขึ้นให้วาดเป็นรูปลูกศรชี้ขึ้น ส่วนการทำให้สิ่งของหดขนาดลงให้โบกไม้กายสิทธิ์เป็นรูปชี้ลง (ดังรูป H)
แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต หรือ Harry Potter and the Deathly Hallows เป็นหนังสือเล่มที่ 7 ในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ.เค.โรว์ลิ่ง (J.K.Rowling) เป็นหนังสือนวนิยายเล่มสุดท้ายในวรรณกรรมชุดนี้ โดยมีกำหนดวันวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 กรกฎาคม ปี 2007 ด้วยยอดการผลิตที่ 8 ล้านเล่ม เฉพาะใน Bloomsbury ของอังกฤษ …
คาถาเผยความลับจะเผยให้เห็นถึงหมึกล่องหนหรือข้อความที่ถูกซ่อนไว้โดยเวทมนตร์ คาถานี้สามารถแก้มนตร์ปกปิดส่วนมากได้ ดังนั้นควรระวังไว้ว่าแผนก่อให้เกิดความเสียหายใดๆที่ถูกปกปิดไว้ด้วยหมึกล่องหนสามารถถูกเปิดเผยได้ง่าย ๆ โดยผู้ปกครองที่เป็นผู้วิเศษและอาจารย์เช่นกัน นักวิจัยเวทมนตร์จำนวนมากใช้หมึกล่องหนเพื่อที่จะซ่อนงานของพวกเขาจากคู่แข่ง ดังนั้นคาถาเผยความลับจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อนักวิชาการผู้จริงจังเหล่านั้น ผู้มีชื่อเสียงด้านตัวเลขมหัศจรรย์ บริดเจ็ต เว็นล็อก (Bridget Wenlock) ให้การปกป้องอย่างยิ่งกับการค้นพบของเธอด้วยการเขียนอย่างเฉพาะตัวด้วยหมึกล่องหน ยังไม่ต้องกล่าวถึงการเขียนกลับหัวกลับหาง กลับหน้ากลับหลัง และลายมือที่เลวร้ายของเธอ เว็นล็อกมีชื่อเสียงเรื่องการเหม่อลอยพอ ๆ กับโรคหวาดระแวงของเธอ และบ่อยครั้งที่มักจดบันทึกย่อด้วยหมึกล่องหนลงบนเศษกระดาษก่อนจะทำมันหายหลังจากนั้นทันที มักจะเห็นว่าเธอกลับไปที่ทินเวิร์ทบ้านเกิดของเธออยู่บ่อย ๆ พยายามที่จะใช้คาถาเผยความลับบนเศษกระดาษทุกแผ่นเพื่อหาการคำนวณตัวเลขมหัศจรรย์ที่หายไป เว็นล็อกเคยจดทฤษฎีบท*ที่ค้นพบใหม่เกี่ยวกับคุณสมบัติทางเวทมนตร์ของเลขเจ็ดตอนเวลาอาหารเช้าในวันหนึ่ง ซึ่งเธอจดมันลงบนด้านหลังของซองจดหมายซองหนึ่งโดยใช้หมึกล่องหนประจำของเธอ จากนั้นเธอไปส่งจดหมายให้ลูกพี่ลูกน้องของเธอ โดยใช้ซองจดหมายที่ในภายหลังเธอเชื่อว่าต้องเป็นซองเดียวกันกับที่แฝงทฤษฎีบทของเธอไว้ ทันทีที่ตระหนักถึงความผิดพลาดของเธอ เว็นล็อกรีบฉวยไม้กวาดของเธอและออกไล่ตามนกฮูกที่ถือจดหมายไป …
หนังสือ “Harry Potter and the Half-Blood Prince หรือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเจ้าชายเลือดผสม” เป็นหนังสือภาค 6 ในนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เวียนมาครบรอบวันวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ.2005 ด้วยยอดวางจำหน่าย 6.3 ล้านเล่มเฉพาะทางสำนักพิมพ์ Bloomsbury สำนักพิมพ์แห่งแรกที่ตอบรับการตีพิมพ์หนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ ขณะที่ฟากสำนักพิมพ์ Scholastic ของอเมริกามียอดการผลิตเพื่อวางจำหน่ายล็อตแรกที่ 10.8 …
แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ หรือ Harry Potter and the Chamber of Secrets วางจำหน่ายขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1998 ในรูปแบบของหนังสือปกแข็ง ซึ่งวาดปกโดย Cliff Wright ด้วยจำนวนทั้งสิ้นเพียง 706 เล่มเท่านั้น ขณะที่เล่มแบบปกอ่อนจำหน่ายภายหลังในวันที่ 28 มกราคม 1999 (อ้างอิงหนังสือ J.K. …
ก่อนอื่นต้องขอบคุณเนื้อหาฉบับภาษาไทยของทาง Pottermore ก่อนเลยครับ เพราะบทความนี้เนื้อหาแปลได้เกือบสมบูรณ์ทั้งหมดเลยครับ ชื่นชมการแปลไทยครั้งนี้มาก แต่มีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงอยู่บ้าง ทาง Muggle-V เลยปรับปรุงใหม่ครับ โรงเรียนเวทมนตร์แห่งอเมริกาเหนืออันยิ่งใหญ่แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่สิบเจ็ด โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ ยอดสูงสุดของภูเขาเกรย์ล็อก (Greylock) ซึ่งซ่อนตัวจากการมองเห็นของผู้ที่ไม่มีเวทมนตร์ด้วยคาถาอันทรงพลังมากมาย ที่บางครั้งก็ปรากฏออกมาในรูปของวงเมฆหมอก จุดเริ่มต้นที่ไอร์แลนด์ อิโซลต์ เซเออร์ (Isolt Sayre) เกิดราวปี ค.ศ. 1603 เธอใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในหุบเขาคูมลูกรา ในเคาน์ตีเคอร์รี (Coomloughra, County Kerry) …
กระจกเงาสองทาง ปรากฏครั้งแรกในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ (เล่ม 5) เป็นวัตถุเวทมนตร์ที่มีคุณสมบัติในการติดต่อสื่อสารกันชนิดหนึ่ง โดยต้องใช้กระจกเงาสองทางที่เป็นฝาแฝดกันในการติดต่อ นี่เป็นกระจกเงาสองทาง ฉันมีอีกบานที่เป็นคู่ของมัน ถ้าเธอต้องการพูดกับฉัน แค่เรียกชื่อฉันเข้าไปในกระจกเงา เธอจะปรากฏขึ้นมาในบานกระจกของฉัน และฉันจะสามารถพูดลงไปในกระจกเงาของเธอได้ ฉันกับเจมส์เคยใช้กระจกเงาคู่นี้เมื่อเราต้องถูกกักบริเวณแยกจากกัน – แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับภาคีนกฟีนิกซ์ บทที่ 38 น.1032 หลังจากซิเรียส แบล็ก (พ่อทูนหัวของแฮร์รี่ พอตเตอร์) เสียชีวิตลง กระจกเงาสองทางของซิเรียสก็ถูกมันดังกัส เฟล็ทเชอร์ …
เหล่าพ่อมดในอเมริกาเคยมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอนปี 1914-1918 แม้ว่าโนแมจผู้ร่วมในสงครามครั้งนั้นจะไม่ตระหนักถึงความช่วยเหลือของพวกเขาก็ตาม เนื่องจากมีการใช้เวทมนตร์จากทั้งสองฝ่าย ท่าทีของผู้วิเศษไม่ได้ชัดเจนนัก พวกเขามีชัยหลายครั้งจากการป้องกันไม่ให้จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นและจากการเอาชนะศัตรูผู้ใช้เวทมนตร์ด้วยกัน ความร่วมมือกันในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้ทัศนคติของมาคูซา (MACUSA) ในเรื่องการผูกสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างโนแมจและผู้วิเศษอ่อนลงแต่อย่างใด และกฎแรพพาพอร์ตยังบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อไป ในทศวรรษที่ 1920 สังคมผู้วิเศษของสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้ข้อบังคับด้านความลับได้ดีกว่าชาวยุโรป และเลือกคู่ครองเฉพาะคนที่อยู่ชนชั้นเดียวกันเท่านั้น ความทรงจำเรื่องการละเมิดความลับครั้งร้ายแรงของดอร์คัส ทเวลฟ์ทรีส์ (Dorcus Twelvetrees) ทำให้เกิดศัพท์เวทมนตร์ใหม่ การทำตัวเป็น “ดอร์คัส” คือคำสแลงของพวกที่โง่เง่าไม่ก็ไร้สมอง มาคูซายังคงวางบทลงโทษร้ายแรงสำหรับใครก็ตามที่ละเมิดบทบัญญัตินานาชาติเกี่ยวกับความลับพ่อมดแม่มด มาคูซาไม่ยอมรับปรากฏการณ์เวทมนตร์อย่างพวกผี โพลเดอร์ไกส์ และสัตว์มหัศจรรย์มากเท่ากับพวกยุโรป เพราะความเสี่ยงที่สัตว์ร้ายและวิญญาณเหล่านั้นอาจชักนำให้พวกโนแมจรับรู้ถึงการมีอยู่ของเวทมนตร์ …