Category: Harry Potter Encyclopedia

กฎแรพพาพอร์ต (Rappaport’s Law)

ในปี ค.ศ. 1790 ประธานลำดับที่สิบห้าของสภาเวทมนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ มาคูซา (MACUSA) เอมิลี่ แรพพาพอร์ต (Emily Rappaport) ได้ประกาศใช้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดการแบ่งแยกเหล่าผู้วิเศษและชุมชนโนแมจออกจากกันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งการประกาศใช้กฎหมายนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการละเมิดบทบัญญัติความลับนานาชาติครั้งรุนแรงที่ทำให้ มาคูซา ต้องเสียหน้าจากการถูกตำหนิโดยสมาพันธรัฐพ่อมดนานาชาติ เรื่องยิ่งหนักเข้าไปใหญ่เมื่อการละเมิดบทบัญญัติดังกล่าวมีต้นเหตุมาจากภายใน มาคูซา เสียเอง เล่าอย่างกระชับก็คือ หายนะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับบุตรสาวของผู้ดูแลการคลังและดรากอต (Keeper of Treasure and Dragots) คนสนิทของประธานแรพพาพอร์ต (ดรากอตคือสกุลเงินพ่อมดของอเมริกัน และตำแหน่งผู้ดูแลดรากอตก็มีความหมายตรงตัว เสมือนเลขานุการที่ดูแลด้านการคลังนั่นเอง) …

ศตวรรษที่สิบเจ็ดและต่อจากนั้น (Seventeenth Century and Beyond)

เมื่อพวกโนแมจชาวยุโรปเริ่มอพยพมายังโลกใหม่ แม่มดและพ่อมดชาวยุโรปจำนวนมากก็มาตั้งรกรากในอเมริกาเช่นเดียวกัน เหมือนกับเหล่ามิตรสหายโนแมจ พวกเขามีเหตุผลมากมายเอื้อให้ตัดสินใจละทิ้งถิ่นกำเนิด บ้างถูกผลักดันด้วยความกระหายการผจญภัย ทว่าส่วนใหญ่มาเพื่อหลบหนีเอาตัวรอดจากสาเหตุเช่น การขับไล่ข่มเหงจากพวกโนแมจในบางครั้ง จากเพื่อนๆ พ่อมดแม่มดด้วยกันในบางที รวมไปถึงจากอำนาจหน่วยงานของโลกเวทมนตร์เอง ซึ่งปัจจัยประการหลังนี้ได้มุ่งหมายพยายามจะปะปนตัวเองไปกับคลื่นมหาชนโนแมจที่ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หรือพยายามแฝงตัวอยู่ท่ามกลางประชากรผู้วิเศษชาวอเมริกันพื้นเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่โดยปกติต้อนรับและปกป้องพี่น้องชาวยุโรปอยู่แล้ว จากช่วงต้นเห็นได้ชัดว่าโลกใหม่นั้นมีสภาพแวดล้อมที่ทารุณสำหรับพ่อมดแม่มดมากกว่าโลกเก่า ด้วยสามเหตุผลหลัก ประการแรก เช่นเดียวกับพวกโนแมจ พวกเขามายังประเทศนี้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงน้อยนิด ยกเว้นที่พวกเขาทำได้เอง ตอนอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด พวกเขาเพียงแค่ตรงไปร้านเครื่องยาท้องถิ่นหาของที่จำเป็นสำหรับปรุงยา แต่ที่นี่พวกเขาต้องออกตามหาพืชวิเศษที่ไม่คุ้นเคยเอง แถมที่นี่ยังไม่มีช่างทำไม้กายสิทธิ์ที่เป็นที่รู้จัก และโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์อิลเวอร์มอร์นี (Ilvermorny School of Witchcraft and …

มาโฮโทะโคะโระ (Mahoutokoro) [Mah – hoot – o – koh – ro]

โรงเรียนเวทมนตร์ญี่ปุ่นอันเก่าแก่แห่งนี้มีนักเรียนที่ตัวเล็กที่สุดเมื่อเทียบกันทั้ง 11 โรงเรียน และรับนักเรียนตั้งแต่พวกเขาอายุเพียง 7 ปี (ถึงแม้ว่าจะยังไม่ต้องอยู่ที่โรงเรียนจนกว่าจะอายุ 11 ปีก็ตาม) โดยในแต่ละวันนักเรียนจะบินไปกลับบ้านโดยการนั่งบนหลังของฝูงนกโต้คลื่นยักษ์ (giant storm petrel) หลายส่วนของโรงเรียนได้รับการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามและหรูหราไปด้วยสิ่งที่ทำขึ้นจากหยกเนื้ออ่อนสีขาวโปร่ง (mutton-fat jade) และตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเกาะภูเขาไฟมินามิ อิโว จิมะ (Minami Iwo Jima) อันรกร้างไร้ประโยชน์ (หรืออย่างน้อยมักเกิ้ลก็คิดแบบนั้น) นักเรียนของที่นี่จะได้รับเสื้อคลุมมนตราทันทีที่พวกเขามาถึง โดยชุดคลุมนี้จะใหญ่ขึ้นตามขนาดตัวเจ้าของที่สวมใส่มัน รวมถึงจะค่อยๆ เปลี่ยนสีตามความรู้ที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของ แรกเริ่มนั้นจะเป็นสีชมพูจางก่อนจะค่อยๆ …

คาสเตลโลบรูชู (Castelobruxo) [Cass – tell – o – broo – shoo]

โรงเรียนเวทมนตร์ในบราซิล ซึ่งรับเด็กนักเรียนทั่วภาคพื้นทวีปอเมริกาใต้ สามารถถูกพบได้ลึกเข้าไปในป่าดงดิบ ปราสาทอันงดงามนี้จะปรากฏให้พวกมักเกิ้ลมองเห็นเป็นเพียงซากปรักหักพัง (กลเม็ดที่ฮอกวอตส์เองก็ใช้ ทำให้ผู้คนมีความเห็นต่างกันออกไปว่าใครลอกใครกันแน่) คาสเตลโลบรูชูเป็นสิ่งก่อสร้างทรงเหลี่ยมสง่างามทำด้วยหินสีทองซึ่งมักถูกนำไปเทียบเคียงกับการเป็นวัดวาอาราม ทั้งตัวอาคารและพื้นดินถูกปกปักษ์โดยไคปอเร (Caipora) สิ่งมีชีวิตชนิดภูตผีวิญญาณขนาดเล็กขนปุยซึ่งมีลักษณะนิสัยซุกซนอย่างล้ำเหลือและเล่ห์เหลี่ยมจัด และจะปรากฏกายขึ้นในยามกลางคืนเข้าปกคลุมเพื่อดูแลเหล่านักเรียนและสิงสาราสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่า อดีตอาจารย์ใหญ่ของคาสเตลโลบรูชู เบเนดิตา โดว์ราโด (Benedita Dourado) ครั้งหนึ่งเคยหัวเราะร่าในวาระการมาเยือนฮอกวอตส์เมื่ออาจารย์ใหญ่อาร์มันโด ดิพพิตบ่นอุบเกี่ยวกับผีโพลเตอร์ไกสต์นามว่าพีฟส์ ข้อเสนอของเธอที่จะส่งไคปอเรจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่ป่าต้องห้ามเพื่อ “แสดงให้เห็นว่าความโกลาหลที่แท้จริงเป็นยังไง” นั้นถูกตอบปฏิเสธ นักเรียนของคาสเตลโลบรูชูสวมเสื้อคลุมสีเขียวสดและมีความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับสมุนไพรศาสตร์ (herbology) และสัตว์วิเศษวิทยา (magizoology) และทางโรงเรียนเองมีการจัดการให้ทุนแลกเปลี่ยน* อันเป็นที่นิยมยิ่งสำหรับนักเรียนจากทวีปยุโรปผู้ใดก็ตามที่สนใจจะศึกษาพืชและสัตว์วิเศษของอเมริกาใต้ คาสเตลโลบรูชูผลิตบุคลากรโด่งดังผู้เคยเป็นศิษย์เก่ามาแล้วมากมาย รวมไปถึงนักปรุงยาชื่อดังก้องโลก …

แวกกาดู (Uagadou) [Wag-a-doo]

ถึงแม้ว่าในแอฟริกาจะมีจำนวนโรงเรียนเวทมนตร์น้อยที่สุด แต่ที่เดียวที่มีก็ได้ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน (อย่างน้อยๆ ก็ราวหนึ่งพันปี) และมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จอย่างน่าอิจฉาในระดับนานาชาตินั่นก็คือ แวกกาดู (Uagadou) โรงเรียนเวทมนตร์ที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถรองรับนักเรียนจากทวีปอันยิ่งใหญ่ได้ทั้งทวีป โดยมีข้อมูลที่อยู่เพียงแค่ “เทือกเขาจันทรา (Mountains of the Moon)” ที่ซึ่งนักเดินทางได้กล่าวไว้ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอันงดงามสลักเสลาจากภูเขาด้านหนึ่งและถูกปกคลุมไปด้วยหมอกทึบ นั่นทำให้บางครั้งมันก็ดูเหมือนกำลังลอยอยู่กลางอากาศ เวทมนตร์โดยมาก (บางตำราก็กล่าวว่าทั้งหมด) เป็นเวทมนตร์ท้องถิ่นของแอฟริกา และที่แวกกาดูนี้นักเรียนส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ การเล่นแร่แปรธาตุ และศาสตร์การแปลงร่างเป็นพิเศษ ไม้กายสิทธิ์นั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในยุโรป ขณะที่ส่งต่อมายังพ่อมดแม่มดแอฟริกาในลักษณะของเครื่องใช้อันมีประโยชน์เมื่อศตวรรษก่อนนี้เอง ทำให้การร่ายคาถาส่วนใหญ่พวกเขามักจะใช้การชี้นิ้วหรือโบกมือเป็นท่าทางต่างๆ นั่นทำให้นักเรียนแวกกาดู สามารถใช้เป็นข้ออ้างได้เมื่อถูกกล่าวหาว่าแหกกฎบทบัญญัติว่าด้วยการปกปิดความลับพ่อมดแม่มดนานาชาติ (‘ผมแค่สะบัดมือไปมา ไม่ได้หมายความว่าผมต้องการร่ายคาถาใส่คางของเขาสักหน่อย’) …

จำนวนครั้งที่มีคนเอ่ยชื่อ ‘โวลเดอมอร์’ ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์

ในโลกแฮร์รี่ พอตเตอร์ พ่อมดผู้ชั่วร้ายนาม “โวลเดอมอร์” เป็นที่กล่าวขวัญกันว่าโหดร้าย น่ากลัว (ไม่มีใครรอดถ้าเขาจะฆ่าซะอย่าง)…ถึงขั้นว่าผู้วิเศษส่วนใหญ่ไม่กล้าเอ่ยนามเขากันเลย และพยายามหลีกเลี่ยงโดยเอ่ยถึงเขาว่า “คนที่คุณก็รู้ว่าใคร” หรือ “คนที่ไม่ควรเอ่ยชื่อ” แม้แต่กลุ่มผู้เสพความตายเองก็ไม่บังอาจเอ่ยชื่อเขา ซึ่งนั่นก็อาจเป็นการแสดงความเคารพยำเกรงก็ได้ จึงเรียกว่า “จอมมาร” กันแทน แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ยังมีผู้วิเศษบางส่วนที่เห็นว่าการกลัวในชื่อเสียงเรียงนามไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลย แล้วใครบ้างล่ะที่กล้าพอจะเอ่ยนามของเขา… หมายเหตุ: 1.การรวบรวมนี้อ้างอิงหลักจากหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับปกครบรอบ 15 ปี วาดโดยคะสึ คิบุอิชิ ฉบับภาษาไทย ตีพิมพ์เดือนกุมภาพันธ์ 2557  …

20 ตัวละครในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เปลี่ยนไปจนจำแทบไม่ได้

ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นภาพยนตร์ที่ใช้เวลาถ่ายทำยาวนาน ตลอดการถ่ายทำตัวละครบางตัวถูกตัดออกไป เพราะนักแสดงเลิกรับบทต่อ อย่างบทของ คอลิน ครีฟวีย์ ที่โดนตัดทิ้ง เพราะ Hugh Mitchell ไม่ต่อสัญญา เลยมีบทไนเจลขึ้นมาแทนซะดื้อเลย ขณะที่ตัวละครอีกหลายคนมีการเปลี่ยนแปลงนักแสดงด้วยเหตุผลหลากหลายประการ ส่งผลให้หน้าตาและบุคลิกต่างๆ ของตัวละครนั้นเปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม ซึ่งส่วนใหญ่ไปทางไม่เหลือภาพเดิมเลยมากกว่า วันนี้ Muggle-V เลยขอพาไปรู้จัก 20 ตัวละครที่หน้าตาและบุคลิกเปลี่ยนไปเพราะการเปลี่ยนนักแสดงมาให้รู้จักกันครับ (หวังว่าจะหมดทุกคนแล้วนะ)   1. ทอม (Tom) เจ้าของร้านหม้อใหญ่รั่ว …

Harry Potter and the Deathly Hallows Part 1 – World Premiere

ภาพบรรยากาศงานเปิดตัวภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 (Harry Potter and the Deathly Hallows Part 1) รอบปฐมทัศน์ ณ Odeon Leicester Square กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2010 CREDIT: Warner Bros.

การแก้ไขและปรับปรุง “แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ฉบับภาพประกอบสี่สี (ภาษาไทย)”

กลุ่มพอตเตอร์พรูฟ (Potterproof) ก่อตั้งขึ้น โดยทีมงานของ Muggle-V และ MuggleThai มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงเนื้อหาของหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาไทย ให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องตามเนื้อหาต้นฉบับ และเพื่อให้แฟนๆ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ชาวไทยได้มีโอกาสเห็นถึงความแตกต่างทางภาษา รวมถึงข้อมูลที่น่าสนใจจากจุดผิดพลาดเล็กๆ ร่วมกับสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ในการปรับปรุงแฮร์รี่ พอตเตอร์ให้ดียิ่งขึ้น จึงต้องขอขอบคุณสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์มา ณ โอกาสนี้ ที่ยินดีรับการตรวจแก้จากพวกเราครับ การตรวจแก้ยึดข้อมูลประกอบจาก ฉบับภาษาไทยจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ ฉบับปก 15 …

Pottermore เปิดตัว e-book The Enhanced Editions of the Harry Potter!!!

สำหรับใครที่เป็นสาวกของ Apple คงได้เฮกันอีกครั้ง เพราะล่าสุด Pottermore ร่วมกับ Apple เปิดตัว iBooks แฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาอังกฤษ หรือ The Enhanced Editions of the Harry Potter stories ให้คุณสามารถอ่านหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้เต็มๆ เหมือนปกติ แต่ที่พิเศษกว่าคือ ฉากและภาพเคลื่อนไหวที่เพิ่มเข้าไปจากเวอร์ชั่นปกติ ซึ่งภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้มาจาก Pottermore …